2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันประชาชนในวัยทำงานส่วนใหญ่จะนั่งโต๊ะทำงานมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายและไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหาร มีการบริโภคอาหารหวานมัน และเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทกาแฟและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาลแทนการดื่มน้ำเปล่า ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่าย พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และการไม่ออกกำลังกาย นำมาซึ่งการมีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนลงพุง โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นฆาตกรเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึง คนที่อ้วนลงพุงจะมีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป โดยมีเส้นรอบเอวของเพศชายเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร เพศหญิงเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตรซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 จากสหพันธ์โรคอ้วน (World Obesity Federation) ผู้คนราว 1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 7 คน กำลังเผชิญกับปัญหาโรคอ้วน สอดคล้องกับรายงาน World Health Statistics 2023 ขององค์การอนามัยโลก รายงานว่า มีผู้ใหญ่ 1.9 พันล้านคน หรือคิดเป็น 39% มีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปี พ.ศ. 2566 คนไทยมีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน 48.35%และกลุ่มคนไทยวัยทำงาน พบว่า 1 ใน 3ของคนไทยวัยทำงานเป็นโรคอ้วนโดยพบคนไทยวัยทำงานอายุ 19 – 59 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 20.31 และมีภาวะอ้วนร้อยละ 28.04 และจังหวัดพัทลุงพบวัยทำงานเป็นโรคอ้วน เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 35.33 จะเห็นได้ว่าภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจน โรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย/การมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) การพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ (Diet) ที่เหมาะสม ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา จัดการอารมณ์ เป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนลงพุง และป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ทั้งนี้กรมอนามัยมีนโยบายส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. โดยดำเนินการสนับสนุนการจัดตั้งคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (DPAC : Diet & Physical Activity Clinic) ในสถานบริการสาธารณสุขในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการในคลินิกไร้พุง (DPAC) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้แก่ประชาชน ในการนี้ รพ.สต.บ้านปากคลองได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีภาวะอ้วนลงพุง เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่เอง หรือประชาชนในพื้นที่ ที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้จึงจัดให้มีโครงการลดพุงลดโรค เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?-ประชาชนในวัยทำงานเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการอารมณ์ เพื่อลดน้ำหนักลดเอว สู่การมีสุขภาวะที่ดี
-ผู้เข้าร่วมโครงการลดพุงลดโรค (DPAC) สามารถลดน้ำหนักและลดเอวได้สำเร็จ
-มีการดำเนินโครงการลดพุงลดโรคผ่านคลีนิกDPACต่อเนื่อง