กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ นับคาร์บ ลดพุง พยุงสุขภาพดี วิถีใหม่ห่างไกล NCDs เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3325-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปากคลอง
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 29,810.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรลักษณ์ บุญจันทร์ศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ ม.1 บ้านสวน,2,3,5,7 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชาชนในวัยทำงานส่วนใหญ่จะนั่งโต๊ะทำงานมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายและไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหาร มีการบริโภคอาหารหวานมัน และเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทกาแฟและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาลแทนการดื่มน้ำเปล่า ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่าย พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และการไม่ออกกำลังกาย นำมาซึ่งการมีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนลงพุง โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นฆาตกรเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึง คนที่อ้วนลงพุงจะมีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป โดยมีเส้นรอบเอวของเพศชายเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร เพศหญิงเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตรซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 จากสหพันธ์โรคอ้วน (World Obesity Federation) ผู้คนราว 1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 7 คน กำลังเผชิญกับปัญหาโรคอ้วน สอดคล้องกับรายงาน World Health Statistics 2023 ขององค์การอนามัยโลก รายงานว่า มีผู้ใหญ่ 1.9 พันล้านคน หรือคิดเป็น 39% มีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปี พ.ศ. 2566 คนไทยมีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน 48.35%และกลุ่มคนไทยวัยทำงาน พบว่า 1 ใน 3ของคนไทยวัยทำงานเป็นโรคอ้วนโดยพบคนไทยวัยทำงานอายุ 19 – 59 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 20.31 และมีภาวะอ้วนร้อยละ 28.04 และจังหวัดพัทลุงพบวัยทำงานเป็นโรคอ้วน เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 35.33 จะเห็นได้ว่าภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจน โรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย/การมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) การพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ (Diet) ที่เหมาะสม ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา จัดการอารมณ์ เป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนลงพุง และป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ทั้งนี้กรมอนามัยมีนโยบายส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. โดยดำเนินการสนับสนุนการจัดตั้งคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (DPAC : Diet & Physical Activity Clinic) ในสถานบริการสาธารณสุขในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการในคลินิกไร้พุง (DPAC) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้แก่ประชาชน ในการนี้ รพ.สต.บ้านปากคลองได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีภาวะอ้วนลงพุง เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่เอง หรือประชาชนในพื้นที่ ที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้จึงจัดให้มีโครงการลดพุงลดโรค เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนวัยทำงานช่วงอายุ 19-59ปี ได้รับการคัดกรองค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)และวัดรอบเอว เพื่อประเมินภาวะอ้วน

ประชาชนวัยทำงานช่วงอายุ 19-59ปีได้รับการคัดกรองค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)และวัดรอบเอว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

50.00 70.00
2 เพื่อให้ประชาชนในวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ และได้เข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนักและรอบเอวลดลง

ประชาชนในวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ และได้เข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนักและรอบเอวลดลง ร้อยละ 50

20.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มพื้นที่การออกกำลังกายและมีคลีนิก DPAC ดำเนินงานต่อเนื่อง

มีการดำเนินงานคลีนิกลดพุง (DPAC)สมาชิกเข้าร่วมโครงการต่อเนื่องตลอดปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,810.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 68 คัดกรองเพื่อประเมินดัชนีมวลกายและวัดรอบเอวในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 19 - 59 ปี 0 5,150.00 -
3 มี.ค. 68 ประชุมชี้แจงโครงการ 0 0.00 -
18 เม.ย. 68 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย 0 10,600.00 -
18 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 เข้าร่วมคลินิกลดพุง 1ครั้งต่อเดือน 0 500.00 -
21 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกัน 0 1,360.00 -
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 อบไอน้ำสมุนไพร 0 12,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 68 สรุปผลการดำเนินโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล 0 200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ประชาชนในวัยทำงานเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการอารมณ์ เพื่อลดน้ำหนักลดเอว สู่การมีสุขภาวะที่ดี -ผู้เข้าร่วมโครงการลดพุงลดโรค (DPAC) สามารถลดน้ำหนักและลดเอวได้สำเร็จ -มีการดำเนินโครงการลดพุงลดโรคผ่านคลีนิกDPACต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2568 09:58 น.