แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ รหัส กปท. L3039
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.นางรอฮีหม๊ะ มะแซ
2.นางกาญจนา สมาธิ
3.นางนาซีเราะห์ ดาโอะ
4.นางสาวนุสรายา ยูโซะ
5.นางสาวปาอีซะ ดายี
สถานการณ์ในประเทศไทยโรค NCDs เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างมาก เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตคนไทย ที่ก่อให้เกิดภาระโรคจากการเสียชีวิตก่อน วัยอันควร ภาวะเจ็บป่วยและทุพพลภาพที่ท าให้ผลิตภาพการท างานลดลงหรือสูญเสียไปที่ส่งผลให้เกิด ความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs 4 โรคหลักดังกล่าว ปีละกว่า 400,000 ราย หรือวันละมากกว่า 1,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 81 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศโรค NCDs มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหนึ่งปัจจัยหรือร่วมหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยงทางเมตาบอลิก ข้อมูลรายงานการสำรวจสถานะสุขภาพคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าความชุกโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน รวมทั้ง พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค NCDs มีแนวโน้มสูงขึ้น พบคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 9.5 หรือประมาณ 6.5 ล้านคน โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 25.4 หรือประมาณ 14 ล้านคน ภาวะอ้วน ร้อยละ 42.2 ภาวะ อ้วนลงพุง ร้อยละ 39.4 ภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ร้อยละ 23.5 ปัจจุบันจะนำไปสู่การเป็นผู้ป่วยโรค NCDs เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากใน อนาคตอันใกล้ หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งกลุ่มโรค NCDs อาจเริ่มจากการเป็นเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วมักจะเป็นเรื้อรัง ตามมาด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต จากสมองขาดเลือด ตาบอด ไตวาย แผลเรื้อรังที่ขาและเท้าซึ่งนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะได้ จากผลการดำเนินงานในคลินิกโรคเรื้อรัง (NCDs) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ 3 ปีย้อนหลังพบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 66 ราย ,80 ราย และ 70 ราย ซึ่งถือว่ายังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น และในปีงบประมาณ 2567มีผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนเส้นเลือดในสมองแตก เป็นผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 1 ราย ทั้งนี้ยังพบปัญหา เมื่อผู้ป่วยมารับบริการในคลินิก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องงดน้ำและอาหารเพื่อเจาะระดับน้ำตาลในเลือด จะรีบเร่งในการกลับบ้านโดยไม่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเรื่องผลการตรวจหรือวิธีการปฏิบัติตัวที่เกี่ยวกับโรค ทำให้ไม่มีเวที/สถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการชาวตะโละรู้ทันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ห่างไกลภาวะแทรกซ้อนขึ้น มุ่งหวังเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ เสริมสร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักในการลดการเกิดโรครายใหม่และควบคุมโรคเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
-
1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง สามมารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 20ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 10.00
-
2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 20ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 10.00
-
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงตัวชี้วัด : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 80ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 60.00
-
4. เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อน น้อยกว่า ร้อยละ 10ขนาดปัญหา 10.00 เป้าหมาย 5.00
- 1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 45 คน ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 45 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,750 บาท
- ค่าอุปกรณ์แช่เท้าด้วยสมุนไพร เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าโมเดลอาหารแลกเปลี่ยนชุดใหญ่ ( 52 ชิ้น) เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
งบประมาณ 20,350.00 บาท - 2. กิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ป่วยเบาหวานความดัน จำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอุปกรณ์แช่เท้าด้วยสมุนไพร เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าเครื่องชั่ง เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
- ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร * 2.4 เมตรเป็นเงิน 750 บาท -ค่าสมุดประจำตัว ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs จำนวน 50 เล่ม x 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
งบประมาณ 20,250.00 บาท - 3. กิจกรรมติดตามเจาะเบาหวานและวัความดันโลหิตสูงหลังอบรมรายละเอียด
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
งบประมาณ 6,000.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 18 ก.ค. 2568 ถึง 18 ก.ค. 2568
หมู่บ้าน 1- 5 ตำบลตะโละ
รวมงบประมาณโครงการ 46,600.00 บาท
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ รหัส กปท. L3039
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ รหัส กปท. L3039
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................