กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ตำบลตะโละ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละ

1.นางรอฮีหม๊ะ มะแซ
2.นางกาญจนา สมาธิ
3.นางนาซีเราะห์ ดาโอะ
4.นางสาวนุสรายา ยูโซะ
5.นางสาวปาอีซะ ดายี

หมู่บ้าน 1- 5 ตำบลตะโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ในประเทศไทยโรค NCDs เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างมาก เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตคนไทย ที่ก่อให้เกิดภาระโรคจากการเสียชีวิตก่อน วัยอันควร ภาวะเจ็บป่วยและทุพพลภาพที่ท าให้ผลิตภาพการท างานลดลงหรือสูญเสียไปที่ส่งผลให้เกิด ความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs 4 โรคหลักดังกล่าว ปีละกว่า 400,000 ราย หรือวันละมากกว่า 1,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 81 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศโรค NCDs มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหนึ่งปัจจัยหรือร่วมหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยงทางเมตาบอลิก ข้อมูลรายงานการสำรวจสถานะสุขภาพคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าความชุกโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน รวมทั้ง พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค NCDs มีแนวโน้มสูงขึ้น พบคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 9.5 หรือประมาณ 6.5 ล้านคน โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 25.4 หรือประมาณ 14 ล้านคน ภาวะอ้วน ร้อยละ 42.2 ภาวะ อ้วนลงพุง ร้อยละ 39.4 ภาวะไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ร้อยละ 23.5 ปัจจุบันจะนำไปสู่การเป็นผู้ป่วยโรค NCDs เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากใน อนาคตอันใกล้ หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งกลุ่มโรค NCDs อาจเริ่มจากการเป็นเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วมักจะเป็นเรื้อรัง ตามมาด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต จากสมองขาดเลือด ตาบอด ไตวาย แผลเรื้อรังที่ขาและเท้าซึ่งนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะได้
จากผลการดำเนินงานในคลินิกโรคเรื้อรัง (NCDs) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ 3 ปีย้อนหลังพบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 66 ราย ,80 ราย และ 70 ราย ซึ่งถือว่ายังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น และในปีงบประมาณ 2567มีผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมีภาวะแทรกซ้อนเส้นเลือดในสมองแตก เป็นผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 1 ราย ทั้งนี้ยังพบปัญหา เมื่อผู้ป่วยมารับบริการในคลินิก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องงดน้ำและอาหารเพื่อเจาะระดับน้ำตาลในเลือด จะรีบเร่งในการกลับบ้านโดยไม่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเรื่องผลการตรวจหรือวิธีการปฏิบัติตัวที่เกี่ยวกับโรค ทำให้ไม่มีเวที/สถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรค
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการชาวตะโละรู้ทันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ห่างไกลภาวะแทรกซ้อนขึ้น มุ่งหวังเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ เสริมสร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักในการลดการเกิดโรครายใหม่และควบคุมโรคเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง สามมารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 20

20.00 10.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 20

20.00 10.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 80

80.00 60.00
4 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อน น้อยกว่า ร้อยละ 10

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น :

กำหนดเสร็จ :

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 45 คน ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 45 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ค่าอุปกรณ์แช่เท้าด้วยสมุนไพร เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าโมเดลอาหารแลกเปลี่ยนชุดใหญ่ ( 52 ชิ้น) เป็นเงิน 9,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ป่วยเบาหวานความดัน จำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอุปกรณ์แช่เท้าด้วยสมุนไพร เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าเครื่องชั่ง เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร * 2.4 เมตรเป็นเงิน 750 บาท -ค่าสมุดประจำตัว ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs จำนวน 50 เล่ม x 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามเจาะเบาหวานและวัความดันโลหิตสูงหลังอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเจาะเบาหวานและวัความดันโลหิตสูงหลังอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>