กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี

ตำบลปูยุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อนเป็นโรคติดต่อจากเชื้อ Mycobacterium leprae ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อผิวหนังเส้นประสาทส่วนปลาย และอวัยวะอื่นๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดความพิการทางร่างกายแต่ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจและสังคมของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวและชุมชน เนื่องจากการตีตราและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้ โดยเฉพาะชุมชนที่ห่างไกล ซึ่งประชาชนมีความเสี่ยงต่อการขาดความรู้เกี่ยวกับโรค รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างจำกัด โรคเรื้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ปัญหาความพิการและการตีตราทางสังคมยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากการดำเนินงานปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเรื้อนเพิ่มขึ้น ในจังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 6 ราย และในตำบลปูยุดไม่พบผู้ป่วยรายใหม่แต่มีผู้ป่วยกำลังรักษา จำนวน 1 ราย แสดงให้เห็นว่าโรคเรื้อนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ตามแนวทางการควบคุมโรคของกรมควบคุมโรคให้มีการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนทุกๆปี เป็นระยะเวลา 10 ปี และจากการดำเนินงานสำรวจและค้นหาผู้ที่เป็นโรคผิวหนังแล้วรักษาไม่หายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีการค้นหา เพื่อกวาดล้างโรคเรื้อนให้หมดจากพื้นที่ ด้วยการแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางผิวหนังยังไม่รู้ตัวให้รีบไปรับการรักษา และการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด เล็งเห็นถึงปัญหาของโรคจึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงปัญหาโรคทางผิวหนัง และสามารถแยกโรคของบุคคลใกล้ตัวในเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที น้อมนำพระราชปณิธานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประทีปนำทางที่จะให้โรคเรื้อนหมดไปจากประเทศไทย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงปัญหาโรคทางผิวหนัง

ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนตระหนักถึงปัญหาโรคทางผิวหนัง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนเข้าใจโรคทางผิวหนัง และสามารถแยกโรคของบุคคลใกล้ตัวในเบื้องต้นได้

ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนสามารถแยกโรคทางผิวหนังของบุคคลใกล้ตัวในเบื้องต้นได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 28/02/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคเรื้อนในเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน ๓๐ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โรคเรื้อนในเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน ๓๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าไวนิล จำนวน 2 ผืน ขนาด 1.5 เมตร*2.5 เมตร ผืนละ 1,125 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
-ค่าสื่อโปสเตอร์โรคเรื้อน จำนวน 70 ชุดๆละ 25บาท เป็นเงิน 1,750 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 70 บาท x 1มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ความรู้โรคเรื้อนในกลุ่มเสี่ยงสัมผัสและตรวจโรคทางผิวหนังโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้ความรู้โรคเรื้อนในกลุ่มเสี่ยงสัมผัสและตรวจโรคทางผิวหนังโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,900 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ตรวจคัดกรองกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน (กล่อง,Alcohol,กระดาษทิชชู่) จำนวน 70 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท -ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้ 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท -แว่นขยาย จำนวน 2 ชิ้นๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท -สติกเกอร์ความรู้และปฏิทินการตรวจโรคทางผิวหนัง จำนวน 70 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>