โครงการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อน ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อน ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3017-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี |
วันที่อนุมัติ | 1 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 มีนาคม 2568 |
งบประมาณ | 29,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฮานาน มะยีแต |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอิมรอน หะยีสามะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อนเป็นโรคติดต่อจากเชื้อ Mycobacterium leprae ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อผิวหนังเส้นประสาทส่วนปลาย และอวัยวะอื่นๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดความพิการทางร่างกายแต่ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจและสังคมของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวและชุมชน เนื่องจากการตีตราและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้ โดยเฉพาะชุมชนที่ห่างไกล ซึ่งประชาชนมีความเสี่ยงต่อการขาดความรู้เกี่ยวกับโรค รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างจำกัด โรคเรื้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ปัญหาความพิการและการตีตราทางสังคมยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากการดำเนินงานปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเรื้อนเพิ่มขึ้น ในจังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 6 ราย และในตำบลปูยุดไม่พบผู้ป่วยรายใหม่แต่มีผู้ป่วยกำลังรักษา จำนวน 1 ราย แสดงให้เห็นว่าโรคเรื้อนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ตามแนวทางการควบคุมโรคของกรมควบคุมโรคให้มีการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนทุกๆปี เป็นระยะเวลา 10 ปี และจากการดำเนินงานสำรวจและค้นหาผู้ที่เป็นโรคผิวหนังแล้วรักษาไม่หายโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีการค้นหา เพื่อกวาดล้างโรคเรื้อนให้หมดจากพื้นที่ ด้วยการแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางผิวหนังยังไม่รู้ตัวให้รีบไปรับการรักษา และการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด เล็งเห็นถึงปัญหาของโรคจึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงปัญหาโรคทางผิวหนัง และสามารถแยกโรคของบุคคลใกล้ตัวในเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที น้อมนำพระราชปณิธานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประทีปนำทางที่จะให้โรคเรื้อนหมดไปจากประเทศไทย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงปัญหาโรคทางผิวหนัง ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนตระหนักถึงปัญหาโรคทางผิวหนัง |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนเข้าใจโรคทางผิวหนัง และสามารถแยกโรคของบุคคลใกล้ตัวในเบื้องต้นได้ ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนสามารถแยกโรคทางผิวหนังของบุคคลใกล้ตัวในเบื้องต้นได้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 29,600.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 28 ก.พ. 68 | อบรมให้ความรู้โรคเรื้อนในเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน ๓๐ คน | 0 | 9,700.00 | - | ||
28 ก.พ. 68 | รณรงค์ให้ความรู้โรคเรื้อนในกลุ่มเสี่ยงสัมผัสและตรวจโรคทางผิวหนังโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ | 0 | 19,900.00 | - |
1.ประชาชนมีความตระหนักรู้ถึงปัญหาโรคทางผิวหนัง
2.ประชาชนสามารถแยกโรคทางผิวหนังของบุคคลใกล้ตัวในเบื้องต้นได้
3.ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคเรื้อนได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 00:00 น.