2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้ หลังจากได้รับเชื้อจากยุงลายประมาณ 5-8 วัน จะทำให้มี อาการไข้สูงลอย (38.0-40 องศาเซลเซียส) ติดต่อกัน 2-7 วัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดเบ้าตา ปวดท้อง อาเจียน เบื่ออาหาร จากนั้นจะเริ่มมีจุดแดงเล็ก ๆ ตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ อาจมีเลือดกำเดาไหล และเลือดออกตามไรฟัน ทั้งนี้ โรคไข้เลือดออกผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปคล้ายเป็นหวัด แต่มักไม่ไอ และไม่มีน้ำมูก โดยโรคไข้เลือดออก มี 4 สายพันธุ์เมื่อติดเชื้อสายพันธุ์ใดแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น แต่ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ ได้อีก ซึ่งการติดเชื้อครั้งที่สองอาจรุนแรงกว่าครั้ง
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี พ.ศ.2567 มีแนวโน้มสูงขึ้น ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 10 กรกฎาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสม 44,387 ราย อัตราป่วย 76.12 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 1 เท่า ณ ช่วงเวลาเดียวกันผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยันสะสม 40 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.09 โดยอัตราป่วยตายสูงสุดในกลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป การควบคุมยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยดำเนินงานตามมาตราการ3-3-1 ให้มีความครอบคลุทพื้นที่เสี่ยง การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้อง ช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ในกรณีที่มีการใช้เครื่องพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมยุงลาย จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี พ.ศ. 2568 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยการกำจัดยุงลายไม่ให้สามารถไปแพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก ซึ่งเป็นวิธีการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อีกทางหนึ่งและในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็วให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค โดยทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ
3เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
4 เพื่อเป็นการบูรณการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุม
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/12/2024
กำหนดเสร็จ 28/11/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันการเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะได้
2ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
3อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระลดลง
4หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่