โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5230-05-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ |
วันที่อนุมัติ | 3 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 98,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสัมพันธ์ สุวรรณ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้ หลังจากได้รับเชื้อจากยุงลายประมาณ 5-8 วัน จะทำให้มี อาการไข้สูงลอย (38.0-40 องศาเซลเซียส) ติดต่อกัน 2-7 วัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดเบ้าตา ปวดท้อง อาเจียน เบื่ออาหาร จากนั้นจะเริ่มมีจุดแดงเล็ก ๆ ตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ อาจมีเลือดกำเดาไหล และเลือดออกตามไรฟัน ทั้งนี้ โรคไข้เลือดออกผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปคล้ายเป็นหวัด แต่มักไม่ไอ และไม่มีน้ำมูก โดยโรคไข้เลือดออก มี 4 สายพันธุ์เมื่อติดเชื้อสายพันธุ์ใดแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น แต่ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ ได้อีก ซึ่งการติดเชื้อครั้งที่สองอาจรุนแรงกว่าครั้ง
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี พ.ศ.2567 มีแนวโน้มสูงขึ้น ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 10 กรกฎาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสม 44,387 ราย อัตราป่วย 76.12 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 1 เท่า ณ ช่วงเวลาเดียวกันผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยันสะสม 40 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.09 โดยอัตราป่วยตายสูงสุดในกลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป การควบคุมยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยดำเนินงานตามมาตราการ3-3-1 ให้มีความครอบคลุทพื้นที่เสี่ยง การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้อง ช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ในกรณีที่มีการใช้เครื่องพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมยุงลาย จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นสารเคมีที่มีคุณสมบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี พ.ศ. 2568 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยการกำจัดยุงลายไม่ให้สามารถไปแพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก ซึ่งเป็นวิธีการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อีกทางหนึ่งและในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็วให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค โดยทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 98,250.00 | 0 | 0.00 | |
3 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | เฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยแจกทรายอะเบท ให้กับตัวแทนหมู่บ้าน อสม. โรงเรียน | 0 | 9,000.00 | - | ||
3 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร่วมกับชุมชน โรงเรียน | 0 | 5,250.00 | - | ||
3 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายป้องกันการเกิดโรค ในพื้นที่เสี่ยง เช่น วัด มัสยิด และพ่นหมอกควันในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนเปิดภาคเรียน และ พ่นหมอกควันในกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตร บริเวณรอบๆบ้านที่เกิดโรค | 0 | 25,000.00 | - | ||
3 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควัน จำนวน 1 เครื่อง | 0 | 59,000.00 | - |
1สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันการเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะได้ 2ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 3อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระลดลง 4หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2568 00:00 น.