กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ I see the Future คืนดวงตาสดใส ให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลอง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

โรงเรียนบ้านชายคลอง

โรงเรียนบ้านชายคลอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สายตาและการมองเห็นถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ พัฒนาการทางด้านสมอง บุคลิกภาพ ตลอดจนถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะเด็กอนุบาลและประถมศึกษา อายุ 3-12 ปี เด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติและไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการศึกษา และโอกาสการทำงานในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และคนในสังคมด้วยเช่นกัน ความผิดปกติของสายตา นับเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และอาจเป็นอุปสรรคในการศึกษาเล่าเรียน ทำให้มีผลสืบเนื่องในระยะยาวซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดย "การสวมแว่นสายตา” การคัดกรอง การวินิจฉัย และแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการสวมแว่นสายตา เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับเด็กอายุ 3-12 ปี และรัฐบาลได้ผลักดันให้โรงเรียนดำเนินโครงการเด็กไทยสายตาดีปี 2564 - 2568 และในปี 2568 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีนโยบายเชิงรุก ขยายช่วงอายุในการคัดกรองสายตา จากเดิมคัดกรองสายตาให้กับเด็ก 3-12 ปี เป็น 3 - 15 ปี
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านชายคลอง มีเด็กนักเรียน จำนวน 33 คน แยกเป็น เด็กอนุบาล 2 จำนวน 4 คน อนุบาล 3 จำนวน 5 คน และมีเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 คน และบุคลากร 7 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน ดังนั้นโรงเรียนบ้านชายคลอง จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพทางด้านสายตาและการมองเห็นให้กับเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ I see the future คืนดวงตาสดใส ให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลอง ปี 2568 ขึ้น โดยนักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสายตาโดยครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากพบนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติ (VA แย่กว่า 20/30 ขึ้นไป) หรือมีความผิดปกติทางตาด้านอื่น ๆ จะได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยนักทัศนมาตรอีกครั้ง หากพบนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติที่สามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นตาจะต้องได้รับการวัดค่าสายตา และตัดแว่นตาเด็กที่ได้รับวินิจฉัยสายตาผิดปกติ และหากพบความผิดปกติทางสายตาด้านอื่นดำเนินการส่งต่อแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพนางตุงเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองสายตาเด็กอายุ 5-12 ปี หรืออนุบาล-ประถม ด้วย E-chart

ร้อยละ 90 ของเด็ก 5-12 ปีได้รับการคัดกรองสายตาด้วย E-chart

0.00
2 เพื่อเพิ่มการแก้ปัญหาด้วยแว่นสายตาเด็ก 5-12 ปี หรืออนุบาล-ประถมศึกษา ที่มีความผิดปกติทางสายตา

ร้อยละ 90 ของเด็ก 5-12 ปี หรือ อนุบาล-ประถมศึกษา ที่มีความผิดปกติทางสายตา Va > 20/30 ได้รับการแก้ปัญหาด้วยแว่นสายตา

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 33
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน คนละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2.ค่าป้ายไวนิล 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 518 บาท

***หมายเหตุ ผู้ปกครอง จำนวน 33 คนครูและบุคลากร จำนวน 7 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ผู้ปกครองและนักเรียนรับทราบวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1718.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสายตาเด็กอนุบาล-ประถมศึกษา อายุ 5-12 ปี ด้วยแผ่น E-chart

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสายตาเด็กอนุบาล-ประถมศึกษา อายุ 5-12 ปี ด้วยแผ่น E-chart
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรที่ให้ความรู้พร้อมทั้งคัดกรองเด็ก2 คน คนละ3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
2.ค่าแผ่น E-chart และไม้ปิดตา ราคา 250 บาท จำนวน 2 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม นักเรียน ครู และบุคลากร จำนวน 40 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท **หมายเหตุ อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน จำนวน 33 คน บุคลากร จำนวน 7 คน หลังจากนั้นเป็นการตรวจตัดกรองสายตาโดยครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนทุกคนได้รับการคัดกรองสายตาด้วยแผ่นตรวจ E-chart ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองซ้ำด้วยเครื่อง auto refreation สำหรับเด็กที่มีความผิดปกติ va 20>30

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองซ้ำด้วยเครื่อง auto refreation สำหรับเด็กที่มีความผิดปกติ va 20>30
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตรวจสายตาซ้ำโดยนักทัศนมาตร 50 บาท/คน จำนวน 2 คน เป็นเงิน 100 บาท
2.ค่าแว่นสายตา กรณีต้องใช้ stock lense ราคา800/คัน จำนวน 2 คนเป็นเงิน 1,600 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 4 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 120 บาท

**หมายเหตุ 1. คาดการณ์เด็กที่มีสายตาผิดปกติ ร้อยละ 5 ของจำนวนเด็กทั้งหมด2.กลุ่มเป้าหมายกิจกรรมนี้
- ครู 1 คน
- นักทัศนมาตร 1 คน
- เด็กอนุบาลและชั้นประถมศึกษา อายุ 5-12 ปี จำนวน 2 คน
รวมจำนวนทั้งหมด 4 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีค่าสายตา va มากกว่า 20/30 เข้ารับการตรวจคัดกรองซ้ำด้วยนักทัศนมาตร และเครื่อง auto-refreation

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1820.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งต่อเด็กนักเรียนที่ไม่สามารถตัดแว่นสายตาได้พบแพทย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งต่อเด็กนักเรียนที่ไม่สามารถตัดแว่นสายตาได้พบแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งต่อเด็กนักเรียนที่มีปัญหาด้านสายตาและไม่สามารถตัดแว่นสายตาได้ให้พบจักษุแพทย์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,038.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 5-12 ปี ได้รับการคัดกรองสายตาด้วย E-chart
2. เด็ก 5-12 ปี ได้รับการตรวจสายตาและแก้ปัญหาสายตา ส่งผลให้คุณภาพการดำเนินชีวิตดีขึ้น


>