2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วยปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 4 กลุ่มโรคหลักคือโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคทางเดินหายใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกถึงปีละ 38 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิตข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรคไม่ติดต่อNCDsเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยโดยมีคนไทยป่วยเป็นโรคNCDs ถึง 14 ล้านคนเสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คนและคาดว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกๆปีซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี สะท้อนภาพการสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรซึ่งถ้าคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมที่เสียไปแล้วนับว่าสูงมากถึงร้อยละ 40 ของมูลค่างบประมาณภาครัฐไทยทั้งหมด (ธีระ วรธนารัตน์ 2561) สำหรับประเทศไทยมีข้อมูลชัดแล้วว่าขณะนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมดหรือประมาณ 320,000 คนต่อปีโดยในทุก 1 ชั่วโมงมีผู้เสียชีวิต 37 รายทั้งนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดสมองรองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้น เบาหวานและความดันโลหิตสูงตามลำดับ(กระทรวงสาธารณสุข ,2561)
จังหวัดพัทลุงพบว่าโรคเบาหวานพบว่าปีงบประมาณ 2564-2566 จังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยเบาหวาน 27.351 คน 28,456 คน และ 30,364 คนตามลำดับได้มีการตรวจและควบคุมระดับน้ำตาลในภาพของจังหวัดพัทลุงผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกล่าวคือปีงบประมาณ 2564-2566 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีคิดเป็นร้อยละ 37.93 ร้อยละ 34.37 และร้อยละ 39.37 ตามลำดับ
ปีงบประมาณ 2567 จากข้อมูล HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 จังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 35,693 คนได้รับการตรวจจำนวน 33,522 คนและเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 13,290 คนคิดเป็นร้อยละ 41.22
โรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูล HDC พบว่าในปีงบประมาณ 2564-2566 จังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่อยู่ในเขตจังหวัดพัทลุงจำนวน63,368 คน 64,039 คน และ 66,114 คน ตามลำดับได้มีการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง และควบคุมระดับความดันโลหิต ในภาพรวมของจังหวัดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันได้ดีมีแนวโน้มขึ้นลง กล่าวคือปีงบประมาณ 2564-2566 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ 62.78 ร้อยละ 61.58 และร้อยละ 62.15 ตามลำดับ
ปีงบประมาณ 2567 จากข้อมูล HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 69,838คน ได้มีการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง จำนวน 56,638 คน ซึ่งมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 44,428 คน สามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดี คิดเป็นร้อยละ 63.62 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 15/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงร้อยละ ๙๐
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้ร้อยละ 60
3. อัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4
4.กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย จากการคัดกรองได้รับการการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.
5. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย เบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
6.ประชากรสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
7. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. 2 ส.
8. ลดกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยเบาหวานและความดันรายใหม่