โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลพนางตุง หมูที่ 1,2,3,4,13 ปี2568
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลพนางตุง หมูที่ 1,2,3,4,13 ปี2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3323-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 26,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปัทมพร ทองเกลี้ยง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1500 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 1,500.00 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 1,500.00 | ||
3 | สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วยปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวัน | 1,500.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วยปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 4 กลุ่มโรคหลักคือโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคทางเดินหายใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกถึงปีละ 38 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิตข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรคไม่ติดต่อNCDsเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยโดยมีคนไทยป่วยเป็นโรคNCDs ถึง 14 ล้านคนเสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คนและคาดว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกๆปีซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี สะท้อนภาพการสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรซึ่งถ้าคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมที่เสียไปแล้วนับว่าสูงมากถึงร้อยละ 40 ของมูลค่างบประมาณภาครัฐไทยทั้งหมด (ธีระ วรธนารัตน์ 2561) สำหรับประเทศไทยมีข้อมูลชัดแล้วว่าขณะนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมดหรือประมาณ 320,000 คนต่อปีโดยในทุก 1 ชั่วโมงมีผู้เสียชีวิต 37 รายทั้งนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดสมองรองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้น เบาหวานและความดันโลหิตสูงตามลำดับ(กระทรวงสาธารณสุข ,2561) จังหวัดพัทลุงพบว่าโรคเบาหวานพบว่าปีงบประมาณ 2564-2566 จังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยเบาหวาน 27.351 คน 28,456 คน และ 30,364 คนตามลำดับได้มีการตรวจและควบคุมระดับน้ำตาลในภาพของจังหวัดพัทลุงผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกล่าวคือปีงบประมาณ 2564-2566 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีคิดเป็นร้อยละ 37.93 ร้อยละ 34.37 และร้อยละ 39.37 ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2567 จากข้อมูล HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 จังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 35,693 คนได้รับการตรวจจำนวน 33,522 คนและเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 13,290 คนคิดเป็นร้อยละ 41.22 โรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูล HDC พบว่าในปีงบประมาณ 2564-2566 จังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่อยู่ในเขตจังหวัดพัทลุงจำนวน63,368 คน 64,039 คน และ 66,114 คน ตามลำดับได้มีการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง และควบคุมระดับความดันโลหิต ในภาพรวมของจังหวัดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันได้ดีมีแนวโน้มขึ้นลง กล่าวคือปีงบประมาณ 2564-2566 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ 62.78 ร้อยละ 61.58 และร้อยละ 62.15 ตามลำดับ ปีงบประมาณ 2567 จากข้อมูล HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 69,838คน ได้มีการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง จำนวน 56,638 คน ซึ่งมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 44,428 คน สามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดี คิดเป็นร้อยละ 63.62 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง |
1500.00 | 90.00 |
2 | - เพื่อคัดกรองสุขภาพและค้นหาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป - เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย ต่อโรคเบาหวานและความดัน มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดัน ได้รับการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ 2 - เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ในผู้ป่วยเบาหวานและความดัน -ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 |
1500.00 | 90.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 26,900.00 | 0 | 0.00 | |
15 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
17 ก.พ. 68 - 29 ส.ค. 68 | กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง | 0 | 26,900.00 | - |
1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงร้อยละ ๙๐ 2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้ร้อยละ 60 3. อัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4 4.กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย จากการคัดกรองได้รับการการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส. 5. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย เบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 6.ประชากรสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 7. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. 2 ส. 8. ลดกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยเบาหวานและความดันรายใหม่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2568 13:22 น.