2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หญิงวัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทยมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 หรือประมาณ 1 ใน 4 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ จากการทบทวนการศึกษาวิจัยพบว่า ภาวะโลหิตจางมีผลต่อสุขภาพและมีผลต่อการทำงาน เช่น อาการเวียนศรีษะเมื่อยล้า
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ซึ่งมีทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ในปี พ.ศ.2573 เป้าหมายของประเทศไทยควรมีภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่เกินร้อยละ 12.4 ซึ่งปี 2567 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13-45 ปี ที่ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจางในขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และพบภาวะโลหิตจาง พบร้อยละ 49.3 ดังนั้นทางผู้จัดทำโครงการ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำ "โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ปีงบประมาณ 2568"เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่ายมากขึ้น ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ลดภาวะโลหิตจาง และโอกาสเกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนไทยในอนาคต
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 45ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 80
2.หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 45 ปี ที่พบปัญหาภาวะโลหิตจางได้รับการรักษา ร้อยละ 80