โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-l3327-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะบ้า ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพัชรี นุ้ยผอม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หญิงวัยเจริญพันธุ์ของประเทศไทยมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.7 หรือประมาณ 1 ใน 4 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ จากการทบทวนการศึกษาวิจัยพบว่า ภาวะโลหิตจางมีผลต่อสุขภาพและมีผลต่อการทำงาน เช่น อาการเวียนศรีษะเมื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่ายขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ซึ่งมีทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารกได้ในปี พ.ศ.2573 เป้าหมายของประเทศไทยควรมีภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่เกินร้อยละ 12.4 ซึ่งปี 2567 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13-45 ปี ที่ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจางในขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และพบภาวะโลหิตจาง พบร้อยละ 49.3 ดังนั้นทางผู้จัดทำโครงการ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำ "โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ปีงบประมาณ 2568"เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่ายมากขึ้น ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ลดภาวะโลหิตจาง และโอกาสเกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนไทยในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 45ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 –45 ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ความรู้และแนวทางการดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พบปัญหาภาวะโลหิตจาง ให้การดูแลและส่งเสริมที่ถูกวิธี เพื่อให้ความรู้และแนวทางการดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พบปัญหาภาวะโลหิตจาง ให้การดูแลและส่งเสริมที่ถูกวิธี ร้อยละ80 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 | คัดกรองภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 13-45 ปี | 0 | 0.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 มิ.ย. 68 | 2.จัดอบรมให้ความรู้หญิงให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 13 -45 ปี | 0 | 9,000.00 | - | ||
9 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | ติดตามตรวจภาวะซีดต่อเนื่อง ทุกเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน | 0 | 2,250.00 | - | ||
รวม | 0 | 11,250.00 | 0 | 0.00 |
1.หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 45ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 80 2.หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 13 – 45 ปี ที่พบปัญหาภาวะโลหิตจางได้รับการรักษา ร้อยละ 80
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2568 00:00 น.