กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี รหัส กปท. L3338

อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission service)
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
รพ.สต.บ้านฝาละมี
3.
หลักการและเหตุผล

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1ใน 5 ของ การเสียชีวิตทั้งหมด จากข้อมูล IDF Diabetes Atlas พบว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 537 ล้านคน เสียชีวิต มากกว่า 4 ล้านคนต่อปีคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มขึ้นมากถึง 783 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 (ปี 2563) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 8.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 9.5 ในปี 2563 และอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องจาก ข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปีและมีผู้ป่วยสะสม 3.4 ล้านคน อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 70 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามแนวทางมาตรฐาน จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังอันนำไปสู่ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านฝาละมี ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี 2564พบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 213 รายและปี 2565 จำนวน 227 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.57 จากการทบทวนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่ปี 2561-2565 ที่มารับบริการ พบว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c < 7) ได้เพียงร้อยละ37.76, 30.18, 34.25, 31.1 และ 22.91 ตามลำดับ (ฐานข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข, 2566) จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2565 อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีลดลงอย่างน่ากังวล จากการลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาเชิงลึกที่เป็นสาเหตุและปัจจัยของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยวิธีสนทนากลุ่มและรายบุคคลในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยนสะสมในเลือดไม่ได้ (HbA1c < 7) จำนวน 94 คน แล้วนำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญ พบว่า ร้อยละ 93.89 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ในการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล โดยให้ผู้ป่วย ทำ Self-monitoring และบันทึกข้อมูลผ่าน โปรแกรมติดตามเยี่ยมบ้านในฐานข้อมูล Jhcis/MY PCU และแบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) และนำมา Counseling วางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ Telemedicine พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่ระยะสงบ
    ตัวชี้วัด : 1. มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) 2. อสม. SRRT NCD มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหยุดยาเบาหวานได้ (เข้าสู่ระยะสงบ)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู้ป่วยรายใหม่
    ขนาดปัญหา 5.00 เป้าหมาย 10.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ
    รายละเอียด

    จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
    และจัดทำคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ - ค่าใช้จ่าย ในการจัดทำคู่มือ การดูแลตนเองที่บ้าน/ สมดประจำตัวคนไทยห่างไกล NCDs จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

    งบประมาณ 5,000.00 บาท
  • 2. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน
    รายละเอียด

    จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่ายดังนี้

    1. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล แสดงภาวะการเต้นของหัวใจได้ แบบอัตโนมัติจำนวน 2 เครื่องๆ ละ 4,500 บาท เป็นเงิน9,000 บาท
      2.ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,700 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท ( หมายเหตุ แถบตรวจน้ำตาล ขอสนับสนุนจาก รพ.ปากพะยูน)

    2. เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลแบบวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย2 เครื่องๆ ละ 6000 บาทเป็นเงิน 12,000 บาท

    งบประมาณ 23,700.00 บาท
  • 3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่ม อสม. SRRT NCD
    รายละเอียด

    จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่ม อสม. SRRT NCD
    มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

    1. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 70 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,500 บาท

    2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรมจำนวน 50 คนมื้อละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท

    3. ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

    4 .ค่าจัดทำกระเป๋ายา สำหรับการเติมยา และนำยา มาตรวจสอบการกินยา จำนวน 50 คน ๆละ 70 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท

    งบประมาณ 11,300.00 บาท
  • 4. กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง ติดตามเยี่ยมบ้านโดย SRRT NCD 7 ครั้ง
    รายละเอียด

    กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง และติดตามเยี่ยมบ้านโดย SRRT NCD 7 ครั้ง

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 5. ระยะติดตามและประเมินผล
    รายละเอียด

    ดูแลให้ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการติดตามเจาะติดตามน้ำตาลสะสมในเลือด

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 40,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.จำนวนผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถลดยาได้และไม่เกิด Hypoglycemia เพิ่มขึ้น 2.ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติโดยสามารถหยุดยาเบาหวานได้ และมีค่า HbA1C < 6.5% ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน 3.อสม. SRRT NCD มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี รหัส กปท. L3338

อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี รหัส กปท. L3338

อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 40,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................