กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission service)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

รพ.สต.บ้านฝาละมี

หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1ใน 5 ของ การเสียชีวิตทั้งหมด จากข้อมูล IDF Diabetes Atlas พบว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 537 ล้านคน เสียชีวิต มากกว่า 4 ล้านคนต่อปีคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มขึ้นมากถึง 783 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 (ปี 2563) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 8.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 9.5 ในปี 2563 และอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องจาก ข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปีและมีผู้ป่วยสะสม 3.4 ล้านคน อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 70 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามแนวทางมาตรฐาน จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังอันนำไปสู่ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านฝาละมี ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี 2564พบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 213 รายและปี 2565 จำนวน 227 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.57 จากการทบทวนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่ปี 2561-2565 ที่มารับบริการ พบว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c < 7) ได้เพียงร้อยละ37.76, 30.18, 34.25, 31.1 และ 22.91 ตามลำดับ (ฐานข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข, 2566) จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2565 อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีลดลงอย่างน่ากังวล จากการลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาเชิงลึกที่เป็นสาเหตุและปัจจัยของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยวิธีสนทนากลุ่มและรายบุคคลในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยนสะสมในเลือดไม่ได้ (HbA1c < 7) จำนวน 94 คน แล้วนำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญ พบว่า ร้อยละ 93.89 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ในการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล โดยให้ผู้ป่วย ทำ Self-monitoring และบันทึกข้อมูลผ่าน โปรแกรมติดตามเยี่ยมบ้านในฐานข้อมูล Jhcis/MY PCU และแบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) และนำมา Counseling วางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ Telemedicine พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่ระยะสงบ
  1. มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding)
  2. อสม. SRRT NCD มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
70.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหยุดยาเบาหวานได้ (เข้าสู่ระยะสงบ)

ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู้ป่วยรายใหม่

5.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
และจัดทำคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ - ค่าใช้จ่าย ในการจัดทำคู่มือ การดูแลตนเองที่บ้าน/ สมดประจำตัวคนไทยห่างไกล NCDs จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. รพ.สต. มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
    1. มีทำคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่ายดังนี้

  1. จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล แสดงภาวะการเต้นของหัวใจได้ แบบอัตโนมัติจำนวน 2 เครื่องๆ ละ 4,500 บาท เป็นเงิน9,000 บาท
    2.ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,700 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท ( หมายเหตุ แถบตรวจน้ำตาล ขอสนับสนุนจาก รพ.ปากพะยูน)

  2. เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลแบบวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย2 เครื่องๆ ละ 6000 บาทเป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน ที่เพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23700.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่ม อสม. SRRT NCD

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่ม อสม. SRRT NCD
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่ม อสม. SRRT NCD
มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 70 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 3,500 บาท

  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรมจำนวน 50 คนมื้อละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท

  3. ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

4 .ค่าจัดทำกระเป๋ายา สำหรับการเติมยา และนำยา มาตรวจสอบการกินยา จำนวน 50 คน ๆละ 70 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพ ที่ถูกต้องมากกว่าร้อย 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11300.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง ติดตามเยี่ยมบ้านโดย SRRT NCD 7 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง ติดตามเยี่ยมบ้านโดย SRRT NCD 7 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง และติดตามเยี่ยมบ้านโดย SRRT NCD 7 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้รับการเยี่ยมติดตามทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ระยะติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ระยะติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดูแลให้ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการติดตามเจาะติดตามน้ำตาลสะสมในเลือด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้รับการเยี่ยมติดตามทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถลดยาได้และไม่เกิด Hypoglycemia เพิ่มขึ้น
2.ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติโดยสามารถหยุดยาเบาหวานได้ และมีค่า HbA1C <
6.5% ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน
3.อสม. SRRT NCD มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น


>