กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission service)
รหัสโครงการ L3338-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 เม.ย. 2568 2 เม.ย. 2568 40,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 40,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1ใน 5 ของ การเสียชีวิตทั้งหมด จากข้อมูล IDF Diabetes Atlas พบว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 537 ล้านคน เสียชีวิต มากกว่า 4 ล้านคนต่อปีคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มขึ้นมากถึง 783 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 (ปี 2563) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 8.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 9.5 ในปี 2563 และอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องจาก ข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปีและมีผู้ป่วยสะสม 3.4 ล้านคน อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 70 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีทั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามแนวทางมาตรฐาน จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังอันนำไปสู่ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านฝาละมี ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี 2564พบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 213 รายและปี 2565 จำนวน 227 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.57 จากการทบทวนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่ปี 2561-2565 ที่มารับบริการ พบว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c < 7) ได้เพียงร้อยละ37.76, 30.18, 34.25, 31.1 และ 22.91 ตามลำดับ (ฐานข้อมูล HDC กระทรวงสาธารณสุข, 2566) จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2565 อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีลดลงอย่างน่ากังวล จากการลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาเชิงลึกที่เป็นสาเหตุและปัจจัยของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยวิธีสนทนากลุ่มและรายบุคคลในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยนสะสมในเลือดไม่ได้ (HbA1c < 7) จำนวน 94 คน แล้วนำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญ พบว่า ร้อยละ 93.89 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ในการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล โดยให้ผู้ป่วย ทำ Self-monitoring และบันทึกข้อมูลผ่าน โปรแกรมติดตามเยี่ยมบ้านในฐานข้อมูล Jhcis/MY PCU และแบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) และนำมา Counseling วางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ Telemedicine พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่ระยะสงบ
  1. มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding)
  2. อสม. SRRT NCD มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
70.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหยุดยาเบาหวานได้ (เข้าสู่ระยะสงบ)

ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู้ป่วยรายใหม่

5.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ 0 5,000.00 -
1 - 31 มี.ค. 68 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน 0 23,700.00 -
1 - 30 เม.ย. 68 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่ม อสม. SRRT NCD 0 11,300.00 -
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง ติดตามเยี่ยมบ้านโดย SRRT NCD 7 ครั้ง 0 0.00 -
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 ระยะติดตามและประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถลดยาได้และไม่เกิด Hypoglycemia เพิ่มขึ้น 2.ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติโดยสามารถหยุดยาเบาหวานได้ และมีค่า HbA1C < 6.5% ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน 3.อสม. SRRT NCD มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 00:00 น.