กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ประจำปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย พบอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงอายุ 30 - 50 ปี โดยทุกๆ 2 นาทีจะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คน มีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 7 คนต่อวัน เป็น 14 คนต่อวัน โดยโรคมะเร็งเต้านม มีสาเหตุโดยตรงจากปัจจัยทางพันธุกรรม ส่วนมะเร็งปากมดลูกพบว่า ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคนี้มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV virus) การป้องกันโรคมะเร็งเต้านมเบื้องต้นจะสามารถทำได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือได้รับการตรวจจากการตรวจเอ็กซเรย์ Mammogram ปีละ 1 ครั้งในกลุ่มเสี่ยง และการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ซึ่งมีการตรวจคัดกรอง 3 วิธี คือ 1) วิธี Pap smear เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด เพราะใช้เวลา 2 - 5 นาที และรู้ผลภายใน 2 – 4 สัปดาห์ เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกแบบดั้งเดิม ทำการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งจะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก แล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ วิธีนี้อาจได้ความแม่นยำไม่มากนัก และจะแนะนำให้มาตรวจซ้ำทุก 1-2 ปี 2) วิธี visual inspection with acetic acid (VIA) คือ การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้ สารละลาย Acetic acid เจือจาง 3-5% ชโลมบนปากมดลูกนาน 1 นาที แล้วสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของสีเยื่อบุปากมดลูก 3) วิธี HPV DNA Test คือ การตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก วิธีนี้มีความไวในการตรวจหาเซลล์ผิดปกติสูงมาก โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน เก็บเซลล์ตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่ายโดยสตรีอายุ 30 – 60 ปี สามารถทำการเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง และปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นด้วย เพื่อลดปัญหาเรื่องความเขินอายจากการตรวจด้วยเจ้าหน้าที่ และเป็นปัญหาอย่างมากในกลุ่มสตรีมุสลิม ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ปัญหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นหากสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน เป็นประชากรเพศหญิง อายุระหว่าง 30 – 60 ปี ที่มีข้อมูลในฐานข้อมูลสุขภาพ (JHCIS Type 1 และ 3 ปี 2567 ) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก จำนวน 2,881 คน ในปี 2567 ได้รับการตรวจมะเร็งปกมดลูก 345 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรหญิง อายุ 30 - 60 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอกทั้งหมด หากสตรีเหล่านั้นไม่มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก รวมถึงได้รับการตรวจอย่างถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดโรคซึ่งเป็นปัญหาทั้งต่อตัวเองและบุคคลรอบข้างได้อีกด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้แก่กลุ่มสตรีดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยการค้นหาผู้ป่วยเพื่อให้การรักษา และส่งต่อได้อย่างทันท่วงที และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดีส่งผลต่อการมีสุขภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

0.00
2 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับความรู้และทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี

 

0.00
3 3. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอย่างครอบคลุมและกลุ่มที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน X 75 บาท X 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน      เป็นเงิน 7,500  บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน X 35 บาท X 2 มื้อ x 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน    เป็นเงิน 7,000  บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร 500 บาท x 3 ชม. X 2 วัน            เป็นเงิน 3,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สาธิตการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.สะเตงนอก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)   5. จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.สะเตงนอก
           (ไม่มีค่าใช้จ่าย)   6. ผ้าสำหรับทำความสะอาดก่อนและหลังทำการตรวจตรวจมะเร็งปากมดลูก 100 ผืน X 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี สามารถตรวจค้นหามะเร็งเต้านม และได้รับการตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
3. ประชาชนกลุ่มวัยทำงานมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น


>