โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 27 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 27,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอโนชา เลาหวิริยานนท์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย พบอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงอายุ 30 - 50 ปี โดยทุกๆ 2 นาทีจะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คน มีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 7 คนต่อวัน เป็น 14 คนต่อวัน โดยโรคมะเร็งเต้านม มีสาเหตุโดยตรงจากปัจจัยทางพันธุกรรม ส่วนมะเร็งปากมดลูกพบว่า ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคนี้มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV virus) การป้องกันโรคมะเร็งเต้านมเบื้องต้นจะสามารถทำได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือได้รับการตรวจจากการตรวจเอ็กซเรย์ Mammogram ปีละ 1 ครั้งในกลุ่มเสี่ยง และการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ซึ่งมีการตรวจคัดกรอง 3 วิธี คือ 1) วิธี Pap smear เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด เพราะใช้เวลา 2 - 5 นาที และรู้ผลภายใน 2 – 4 สัปดาห์ เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกแบบดั้งเดิม ทำการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งจะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก แล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ วิธีนี้อาจได้ความแม่นยำไม่มากนัก และจะแนะนำให้มาตรวจซ้ำทุก 1-2 ปี 2) วิธี visual inspection with acetic acid (VIA) คือ การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้ สารละลาย Acetic acid เจือจาง 3-5% ชโลมบนปากมดลูกนาน 1 นาที แล้วสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของสีเยื่อบุปากมดลูก 3) วิธี HPV DNA Test คือ การตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก วิธีนี้มีความไวในการตรวจหาเซลล์ผิดปกติสูงมาก โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน เก็บเซลล์ตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่ายโดยสตรีอายุ 30 – 60 ปี สามารถทำการเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง และปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นด้วย เพื่อลดปัญหาเรื่องความเขินอายจากการตรวจด้วยเจ้าหน้าที่ และเป็นปัญหาอย่างมากในกลุ่มสตรีมุสลิม ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ปัญหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นหากสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน เป็นประชากรเพศหญิง อายุระหว่าง 30 – 60 ปี ที่มีข้อมูลในฐานข้อมูลสุขภาพ (JHCIS Type 1 และ 3 ปี 2567 ) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก จำนวน 2,881 คน ในปี 2567 ได้รับการตรวจมะเร็งปกมดลูก 345 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรหญิง อายุ 30 - 60 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอกทั้งหมด หากสตรีเหล่านั้นไม่มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก รวมถึงได้รับการตรวจอย่างถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดโรคซึ่งเป็นปัญหาทั้งต่อตัวเองและบุคคลรอบข้างได้อีกด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้แก่กลุ่มสตรีดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยการค้นหาผู้ป่วยเพื่อให้การรักษา และส่งต่อได้อย่างทันท่วงที และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดีส่งผลต่อการมีสุขภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับความรู้และทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอย่างครอบคลุมและกลุ่มที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,500.00 | 0 | 0.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรม | 0 | 17,500.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมที่ 2 จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม | 0 | 10,000.00 | - |
- สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี สามารถตรวจค้นหามะเร็งเต้านม และได้รับการตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- ประชาชนกลุ่มวัยทำงานมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 14:09 น.