กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยตำบลพนางตุง ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลพนางตุง

ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

0.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

0.00
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

0.00

ในปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากปัจจัยการลดลงของอัตราการเกิดและอายุเฉลี่ยของประชากรยืนยาวขึ้น จึงทำให้เกิดอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย การที่สังคมก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น มีผลกระทบโดยรวมโดยเฉพาะด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงเนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะร่างกายและสุขภาพที่เสื่อมลง และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือด้านจิตใจ การพบปะผู้คนก็น้อยลงทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว้าเหว่มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจที่รุนแรงได้ ผู้สูงอายุถือเป็นปูชนียบุคคลที่มีคุณค่ายิ่งในสังคม เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามากและเคยเป็นกำลังสำคัญในชุมชนที่มีความรู้และทักษะและได้ทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชนมาอย่างมากมาย แต่จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายที่ถดถอยไปตามวัย ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง และหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดและขาดการมีสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในชุมชนและขาดการเฝ้าระวังและติดตามประเมินโรคที่เกิดจากความถดถอยทางด้านร่างกาย รวมทั้งไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพจิตทั้งจากผู้ดูแลและแกนนำทางด้านสุขภาพในชุมชนจะส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุได้ ดังนั้น โครงการฯดังกล่าวจึงจัดขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการสร้างเสริมทางด้านสุขภาพกายและใจ โดยหวังให้ผู้สูงอายุได้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสุขภาพ และได้นำความรู้ด้านการดูแลสุขภาพไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพลดภาวะพึ่งพิงลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (กลุ่มเป้าหมาย)

กลุ่มเป้าหมาย (ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป) ไม่มีภาวะซึมเศร้า

35.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมทางกาย

ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกาย (ออกกำลังกาย) อย่างเพียงพอ (150 นาที/สัปดาห์)

35.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (กลุ่มเป้าหมาย) มีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

35.00 0.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (กลุ่มเป้าหมาย) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพให้ถูกวัย

ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (กลุ่มเป้าหมาย) ได้แลกเปลี่ยนรู้นอกพื้นที่

35.00 0.00

1.เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/10/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย โครงการร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย โครงการร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุและผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน วิทยากร บุคคลที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ จำนวน 20 คน รวมจำนวน 100 คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้... 1.ค่าอาหารว่างจำนวน 100 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่าป้ายไวนิลขนาดกว้าง 1.20 ม.Xยาว 2.40 ม. เป็นเงิน 518 บาท
3. ค่าวิทยากรจำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท
4.ค่าถ่ายเอกสารชุดโครงการจำนวน 80 ชุดๆละ 10 บาทเป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน 5,518 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2568 ถึง 20 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจที่มา วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ 2.ได้สมาชิกผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการจำนวน 35 คน
3.ได้แผนงานรายเดือนในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5518.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม "อาหารเป็นยา"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม "อาหารเป็นยา"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานงานสมาชิกผู้สูงอายุ วิทยากร ตัวแทนองค์กร รวมทั้งสิ้น จำนวน 42 คนได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 35 คน ตัวแทนหน่วยงาน องค์กรจำนวน 5 คน และวิทยากรจำนวน 2 คน 2.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่อง 2.1 เรียนรู้ชนิด ปริมาณ อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย
2.2 เรียนรู้ประเภทอาหารเป็นยา
2.3 เรียนรู้หลักโภชนาการอาหารที่เหมาะกับผู้สูงอายุ
2.4 เรียนรู้และประกวดอาหารสุขภาพ
3.สรุปผล แลกเปลี่ยน ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมและกำหนดแผนงานกิจกรรมต่อไป โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้....
1. ค่าอาหารว่างจำนวน 42 คนๆละ 30 บาท จำนวน 4 ครั้ง(จำนวน 4 สัปดาห์ๆละ 1 วัน) เป็นเงิน 5,040 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาการดำเนินการ (กระเป๋า สมุด ปากกา ) ได้แก่... - กระเป๋าผ้าจำนวน 35 ใบๆละ 70 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท - สมุดโน้ตจำนวน 35 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 350 บาท - ปากกาลูกลื่น จำนวน 35 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 350 บาทรวมเป็นเงิน 3,150 บาท 3. ค่าวิทยากร ครั้งละ 1 คน จำนวน3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท
4. ค่าจัดทำสื่อ แผ่นพับ จำนวน 35 ชุดๆละ 150 บาทเป็นเงิน 5,250 บาท
รวมเป็นเงิน 15,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 80 ได้รับความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
  2. ูผู้สูงอายุร้อยละ 50 สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
  3. เกิดกิจกรรมเรียนรู้จำนวน 3 เรื่องหลักที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15950.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเรียนรู้กิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเรียนรู้กิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 42 คนได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน และตัวแทนองค์กร หน่วยงาน จำนวน 5 คน วิทยากร จำนวน 2 คน
  2. ออกแบบกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย ได้แก่... - ขยับกายด้วยการเต้นบาสโลป - ขยับกายด้วยผ้าขาวผ้า - ขยับกายการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยไม้พลอง
    1. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม / คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
      มีค่าใช้จ่ายดังนี้...
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คน คนละ 30 บาทรวมเป็นเงิน 1,260 บาท
  4. ค่าอุปกรณ์สาธิตในการออกกำลังกาย- ผ้าขาวม้า จำนวน 42 ผืนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท - ไม้พลอง จำนวน 42 อันๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท รวมเป็นเงิน 8,400 บาท
  5. ค่าชุดเครื่องเสียง ขนาด 12 นิ้ว พร้อมไมโครโฟน เป็นเงิน 12,000 บาท 5.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
    รวมเป็นเงิน 23,460 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จำนวน 3 กิจกรรม
  2. ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23460.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม "ขยับกายสบายชีวี"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม "ขยับกายสบายชีวี"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานกลุ่มเป้าหมายตามแผนงานปฏิบัติการ จำนวน 42 คนได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 35 คน เจ้าหน้าที่ 5 คนวิทยากรจำนวน 2 คน
  2. จัดกิจกรรมขยับกายด้วยบาสโลป จำนวน 4 ครั้ง
  3. จัดกิจกรรมขยับกายด้วยผ้าขาวม้า จำนวน 4 ครั้ง
  4. จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายด้วยไม้พลอง จำนวน 4 ครั้ง
  5. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม มีค่าใช้จ่ายดังนี้...
  6. ค่าตอบแทนครูนำขยับกาย จำนวน 1 คน อาทิตย์ละ 1 ครั้งๆ ละ 600 บาท (จำนวน 3 กิจกรรม ) เป็นเงิน 7,200 บาท
  7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนๆละ 30 บาท จำนวน 12 ครั้ง เป็นเงิน 15,120 บาท
    รวมเป็นเงิน 22,320 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีกิจกรรมขยับกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จำนวน 3 กิจกรรม
  2. ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีสุขภาพกายที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
88400.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรม "พักกาย พักจิต ด้วยสายชั้น(ปิ่นโต) ในวันพระ"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม "พักกาย พักจิต ด้วยสายชั้น(ปิ่นโต) ในวันพระ"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
1.กำหนดแผนงานปฏิบัติการ วัน เวลา สถานที่ นัดหมาย
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 35 คน และตัวแทนหน่วยงานองค์กรรับผิดชอบ จำนวน 5 คน 3. ร่วมกิจกรรมพักกาย พักจิด หิ้วสายชั้น มาฟังธรรม ในวันพระ 4.ประเมินผลการจัดกิจกรรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 80 เข้าใจถึงหลักธรรม และนำหลักธรรมมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
  2. มีกิจกรรมลดภาวะติดบ้าน ทำให้เข้าสังคมมากขึ้น ของผู้สูงอายุ 1 กิจกรรม อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ผู้สูงอายุแบบอย่าง ที่ใช้ชีวิตย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ผู้สูงอายุแบบอย่าง ที่ใช้ชีวิตย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 45 คน ได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 35 คน ตัวแทนหน่วยงานองค์กรจำนวน 10 คน
  2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ จังหวัดตรัง กิจกรรม 2 วัน วางแผน แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานกิจกรรม
  3. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม มีค่าใช้จ่ายดังนี้....
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆละ 100 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน 18,000 บาท
  5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ 30 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน 5,400 บาท
  6. ค่าของที่ระลึก จำนวน 2 ชิ้นๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  7. ค่าเช่าเหมารถบัส (รวมน้ำมัน) จำนวน 1 คันจำนวน 2 วัน วันละ 14,000 บาท เป็นเงิน 28,000บาท
  8. ค่าที่พัก จำนวน 45 คนๆละ 750 บาท (จำนวน 1 คืน) เป็นเงิน 33,750 บาท
    รวมเป็นเงิน 86,150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 80 ได้พบปะ สังสรรคฺ์และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น
  2. มีกิจกรรมลดภาวะผู้สูงอายุซึมเศร้า ติดบ้าน ได้ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
86150.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ (ปิดโครงการ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ (ปิดโครงการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 60 คน ได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 35 คน ตัวแทนหน่วยงานองค์กรรับผิดชอบจำนวน 20 คน ภาคีเครือข่ายจำนวน 5 คน
  2. จัดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

- สรุป ประเมินผล แลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานโครงการ - ประกวดปื่นโตสุขภาพ - ประกวดผู้สูงวัยหัวใจรักสุขภาพ - จัดบูธนิทรรศการ / ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม 3. ปิดโครงการ
มีค่าใช้จ่ายดังนี้...
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท 2. ค่าจัดทำประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติผู้สูงวัยหัวใจรักสุขภาพ จำนวน 35 ชุด(พร้อมกรอบ)ๆละ 150 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
3. ค่าของที่ระลึกในการประกวดปิ่นโต จำนวน 5 รางวัล รางวัลๆละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 5. ค่าป้ายไวนิล ขนาดกว้าง 1.20 ม.x 2.40 ม. เป็นเงิน 518 บาท
รวมเป็นเงิน 13,568 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 ตุลาคม 2568 ถึง 10 ตุลาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  2. ผู้สูงอายุร้อยละ 50 มีสุขภาพดีขึ้น
  3. เกิดแผนงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11318.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 230,796.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์และสามารถดูแลตนเองได้
3. ศูนย์พัฒนาฯผู้สูงอายุมีกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง


>