กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้สูงวัย ใส่ใจผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ความรุนแรงในสังคมปัจจุบัน ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเกิดจากความเครียด ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาโรคเรื่อรั้งมีข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของครอบครัว ชุมชนและกระทบต่องบประมาณของประเทศเนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง จำเป็นต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงต่อคนรอบข้าง ครอบครัวและคนในชุมชนได้ ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการร่วมกันวางแผนดูแลผู้ป่วย ครอบครัว ให้อยู่ในชุมชนได้อย่างปกติสุข จากข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด พบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 542 คน ผู้ป่วยพิการติดเตียง จำนวน 26 คน ผู้ป่วยจิเวชจำนวน 25 คน ผู้พิการจำนวน 108 คน ที่ต้องรับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื่อง 41 คนมีอาการกำเริบซ้ำที่ต้องเข้ารับการรักษาบ่อยครั้ง จากการหาสาเหตุพบว่าอาการกำเริบซ้ำมาจากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง รับประทานยาไม่ถูกต้อง ไม่ยอมรับประทานยาเนื่องจากผลข้างเคียงของยา ญาติผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล ในการนี้ รพ.สต.บ้านบาโงยบาแด จึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้สูงวัย ใส่ใจผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ได้รับการดูแลจากเครือข่ายในชุมชนของตนเอง ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่ออบรมให้ความรู้เสริมทักษะแก่ อบรมญาติ/ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวชผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพมีความรู้และความสามารถในการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้นได้

 

0.00
2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า และได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

 

0.00
3 3. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและตรวจเยี่ยมดูแลให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเบื้องต้นพร้อมทั้งทำ กายภาพบำบัดให้กับผู้สูงอายุ/คนพิการ/ผู้ด้อยโอกาส ที่ไม่สามารถออกมาร่วมกิจกรรมในชุมชนได้

 

0.00
4 4. เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการซ้ำซ้อนได้รับการช่วยเหลือและลดภาวะโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดกับผู้ป่วย เช่น แผลกดทับ ลดอันตราย และลดความพิการให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติในการดูแลผู้สูงวัย ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ และการพัฒนาทักษะอสม.หรือจิตอาสา จำนวน 80 คน 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติในการดูแลผู้สูงวัย ผู้พิการ ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ และการพัฒนาทักษะอสม.หรือจิตอาสา จำนวน 80 คน 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 75 บาทx 1 มื้อx2 รุ่น    เป็นเงิน    6,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    จำนวน 40 คน x 35 บาทx 2 มื้อ x2 รุ่น    เป็นเงิน    5,600  บาท
  • ค่าวิทยากรให้ความรู้      500 บาท x 5 ชม. x 2 วัน       เป็นเงิน 5,000  บาท
  • ค่าป้ายโครงการ        ขนาด 2.5 x 1.2 ตรม.        เป็นเงิน 900    บาท
    • ค่าวัสดุในการติดตามดูแลผู้ป่วย  จำนวน 80 คน x 70 บาท            เป็นเงิน    5,600  บาท
      (กระเป่าผ้า สมุด ปากกา)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจสุขภาพและประเมินกลุ่มผู้ดูแลกลุ่มป่วย/ผู้ป่วย จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจสุขภาพและประเมินกลุ่มผู้ดูแลกลุ่มป่วย/ผู้ป่วย จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุในการติดตามดูแลผู้ป่วย    จำนวน 40 คน x 150 บาท      เป็นเงิน    6,000  บาท
       (กะละมัง ผ้าขนหนู แป้ง สบู่ แชมพู)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยจิตเวชเข้าระบบการรักษามากขึ้นและได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องลดอาการกำเริบหรืออาการกลับมาเป็นซ้ำ
2. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ และลดภาระของญาติในการดูแลผู้ป่วยลง
3. ครอบครัวชุมชนมีความเข้าใจและเกิดเครือข่าย แนวทางร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมช
4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงสามารถใช้ชีวิตในครอบครัว ชุมชน ได้อย่างปกติ และมีเครือข่ายร่วมช่วยเหลือดูแลอย่างต่อเนื่อง


>