กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด รหัส กปท. L3308

อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission Service) ปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพสต.บ้านชะรัด
กลุ่มคน
1.นายสมนึกทองรอดประธานชมรม.อสม.รพสต.บ้านชะรัด
2.นางพนารัตน์คำทรา เลขานุการ
3.นางไหมหมาดเกื้อ เหรัญญิก
4.นางอะฉะนุ่นหยู่กรรมการ
5.นางนิตสาคร เอียดวงค์กรรมการ
3.
หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้การดูแลของแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ อาจส่งผลให้โรคเบาหวานทวีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต ปลายประสาท และเท้า ได้ อีกทั้งยังเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังอันนำไปสู่ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ ได้ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย โดยมีผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษา และในจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา มีเพียง 1 ใน 3 คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการรักษา สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1c ให้ลดลงได้ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่ รพสต.บ้านชะรัด ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี 2566 พบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 294ราย และปี 2567 จำนวน299ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67ดังนั้นชมรม อสม. รพสต.บ่านชะรัด ตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ในการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล รวมทั้งการใช้แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) และนำมาพูดคุยให้คำปรึกษา รวมทั้งหารือทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลเพื่อวางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องรายบุคคล พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ หรือ ไลน์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่ระยะสงบ
    ตัวชี้วัด : 1.มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา 2.มีการออกกำลังกายของผู้ป่วยโดยใช้โปรแกรมขยับกาย 3.อสม.ผู้ดูแลสามารถใช้งาน กลุ่มไลน์ส่งข้อมูล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 50.00
  • 2. 2.เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหยุดยาเบาหวานได้ (เข้าสู่ระยะสงบ)
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบอย่างน้อยร้อยละ50 2.ร้อยละการควบคุม HbA1C ในผู้ป่วยเบาหวานไม่เกิน 6.5 ต่อเนื่องไม่ต่ำกกว่า 3 เดือน ร้อยละ50
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 50.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ
    รายละเอียด
    1. ประชุมเครือข่ายสหวิชาชีพและแกนนำ เพื่อออกแบบและจัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน
      ค่าใช้-จ่ายดังนี้

    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนๆละ 20 บาท จำนวน 30 คนเป็นเงิน600 บาท

    งบประมาณ 600.00 บาท
  • 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 20 คน
    รายละเอียด

    2.1 จัดตั้งกลุ่มดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
    2.2 จัดทำสมุดประจำตัว บันทึกข้อมูลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
    2.3 ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่มอสม.เฝ้าระวัง12คน ค่าใช้จ่าย ดังนี้
    -ค่าตอบแทนวิทยากร2 คนจำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน2400บาท
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คนๆละ20บาทเป็นเงิน600 บาท
    -ค่าอาหารกลางวันจำนวน30 คนๆละ60บาทเป็นเงิน1800 บาท
    -ค่าป้ายไวนิลจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300บาท

    งบประมาณ 5,500.00 บาท
  • 3. กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 6 ครั้ง ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม.7 ครั้ง
    รายละเอียด

    1.จัดหาอุปกรณ์ตรวจ คัดกรอง เฝ้าระวัง โรคเบาหวาน และส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ค่าใช้จ่าย ดังนี้
    -จัดหาเครื่องตรวจและแผ่นตรวจน้ำตาลตนเองจำนวน3 เครื่องๆละ2500บาทเป็นเงิน 7500บาท
    -เครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 3เครื่องๆละ2500บาท เป็นเงิน 7500บาท
    -จัดหาเครื่องนับก้าวจำนวน20เครื่องๆละ350บาท เป็นเงิน 7000บาท

    งบประมาณ 22,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื่นที่รับผิดชอบรพสต.บ้านชะรัด หมู่ที่ 4-9 ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 28,100.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถหยุดยาเบาหวานได้

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด รหัส กปท. L3308

อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด รหัส กปท. L3308

อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 28,100.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................