กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงวัย ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42 ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42

1. นายสุทัศน์ผ่องสุวรรณโทร.0892939804
2. นายมนัสเส้งรอด
3. นางโสภานภานิวัติกุล
4. นางธันยพร วิสูตรธนาวิทย์
5. นางสุภาพร บัวแก้ว

ที่ทำการชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ ม.6 บ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

86.37
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

3.61
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม

 

7.89

ประเทศไทย มีจำนวนผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง สถิติจำนวนผู้สูงอายุสัญชาติไทย พ.ศ. 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2567 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 13,450,391 คน จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด 64,989,504 คนหรือร้อยละ 20.70 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด(ข้อมูลจากสถิติของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ตามที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548จากการที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ไทยได้ก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ" (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึง 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ จวบจนถึงปัจจุบันและยังคงมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี สวนทางกับอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ในปี พ.ศ.2576 ที่จะถึงนี้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านสังคม และเศรษฐกิจ ของประเทศไทย โดยเฉพาะระบบบริการทางด้านสาธารณสุขที่มีความท้าทายเกี่ยวกับสุขภาพและความผาสุขของผู้สูงอายุหลายด้าน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุอย่างมาก
ดังนั้น ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42 มีความมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลทั้งด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย การสร้างความเบิกบาน การสร้างความสงบในจิตใจตนเอง การป้องกันสมองเสื่อม การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่า รวมทั้งการเฝ้าระวังคัดกรองภาวะซึมเศร้า การได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลทางสังคมจิตใจ ทั้งผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งพาตนเองได้ และกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงระยะยาวรวมถึงผู้ดูแลในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสุขแก่ผู้สูงวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

3.61 4.50
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

86.37 88.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสนุก ลดความเครียด

ผู้สูงอายุสามารถเลือกกิจกรรมที่ทำให้ตนเองสุข สนุกได้

3.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการและแกนนำของผู้ดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการและแกนนำของผู้ดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการและแกนนำของแต่ละสายบ้าน เพื่อชี้แจงโครงการและรายละเอียดของกิจกรรมแต่ละโครงการ เพื่อมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
คณะกรรมการและแกนนำที่เข้าร่วมประชุม เข้าร่วมประชุมตามนัดหมาย จำนวน 15 คน ผลลัพท์ คณะกรรมการและแกนนำที่เข้าร่วมประชุม เข้าใจกิจกรรมตามโครงการ และรับมอบงานได้ตามความเหมาะสมทุกกิจกรรม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำในวันพระของเดือน มีนาคม เดือนละ 1 ครั้ง (ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) โดยการหิ้วปิ่นโตสุขภาพไปวัด พระฉันเพลเสร็จ ผู้สูงอายุรับประทานอาหารร่วมกัน และมีกิจกรรมให้ความรู้ในการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยวิทยากรภายนอกจำนวน 1 ชั่วโมง ค่าใช้จ่าย
1. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าน้ำดื่มเหมาจ่ายขณะทำกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 500 บาท 3. ค่าอาหารว่างขณะทำกิจกรรม เหมาจ่าย เป็นเงิน 500 บาท 4. ค่าจ้างทำไวนิลโครงการ ขนาด 2.8 x 1.2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท (สามารถใช้ไวนิล ทั้ง 5 กิจกรรม)

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนละ 1 ครั้งตามนัดหมาย ผลลัพท์ ผู้สูงอายุเกิดความคล่องแคล่วว่องไว ไม่เกิดอุบัติเหตุง่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสนุก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสนุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำในวันพระของเดือน เมษายน เดือนละ 1 ครั้ง (ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) พระฉันเพลเสร็จ ผู้สูงอายุรับประทานอาหารร่วมกัน จัดกิจกรรมนันทนาการ หรือกิจกรรมต่างๆที่สร้างความสดชื่น และมีชีวิตชีวาอย่างสร้างสรรค์และดีงาม แนะนำการเล่นกีฬา รำวงพื้นบ้าน รำไม้พลอง หรือเล่นดนตรีพื้นบ้าน
ค่าใช้จ่าย 1. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าน้ำดื่มเหมาจ่ายขณะทำกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 500 บาท 3. ค่าอาหารว่างขณะทำกิจกรรม เหมาจ่าย เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนละ 1 ครั้งตามนัดหมาย ผลลัพท์ ผู้สูงอายุเกิดความสนุก สามารถเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน จิตใจสดชื่นแจ่มใส ลดความเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสง่า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสง่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำในวันพระของเดือน พฤษภาคม เดือนละ 1 ครั้ง (ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) พระฉันเพลเสร็จ ผู้สูงอายุรับประทานอาหารร่วมกัน จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความภาคภูมิใจและความมีคุณค่าในตนเอง โดยวิทยากรภายนอก ให้ความรู้และการปฏิบัติตัว จำนวน 1 ชั่วโมง ค่าใช้จ่าย 1. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าน้ำดื่มเหมาจ่ายขณะทำกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 500 บาท 3. ค่าอาหารว่างขณะทำกิจกรรม เหมาจ่าย เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนละ 1 ครั้งตามนัดหมาย ผลลัพท์ ผู้สูงอายุเกิดความพึงพอใจ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสว่าง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสว่าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำในวันพระของเดือน มิถุนายน เดือนละ 1 ครั้ง (ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) พระฉันเพลเสร็จ ผู้สูงอายุรับประทานอาหารร่วมกัน จัดกิจกรรมที่ชะลอความเสื่อมของสมองในด้านต่างๆ โดยวิทยากรภายนอก ให้ความรู้และการปฏิบัติตัว จำนวน 1 ชั่วโมง ค่าใช้จ่าย 1. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าน้ำดื่มเหมาจ่ายขณะทำกิจกรรมที่ 4 เป็นเงิน 500 บาท 3. ค่าอาหารว่างขณะทำกิจกรรม เหมาจ่าย เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนละ 1 ครั้งตามนัดหมาย ผลลัพท์ ผู้สูงอายุมีความคิดความจำอย่างมีเหตุผล ชะลอความเสื่อมของสมองในด้านต่างๆได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสงบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสงบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำในวันพระของเดือน กรกฎาคม เดือนละ 1 ครั้ง (ขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ) พระฉันเพลเสร็จ ผู้สูงอายุรับประทานอาหารร่วมกัน จัดกิจกรรมที่สามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้ โดยวิทยากรภายนอก ให้ความรู้และการปฏิบัติตัว จำนวน 1 ชั่วโมง ค่าใช้จ่าย 1. ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าน้ำดื่มเหมาจ่ายขณะทำกิจกรรมที่ 5 เป็นเงิน 500 บาท 3. ค่าอาหารว่างขณะทำกิจกรรม เหมาจ่าย เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนละ 1 ครั้งตามนัดหมาย ผลลัพท์ ผู้สูงอายุสามารถรับรู้ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง สามารถปรับตัวและยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปประเมินผลโครงการ พร้อมจัดทำรูปเล่มสรุปเพื่อรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนตำบล จำนวน 1 เล่ม เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2568 ถึง 25 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มสรุป เพื่อรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนตำบล จำนวน 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมทั้งกายใจ และสังคม ส่งผลให้เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต สามารถดูแลตนเองได้ ดำรงชีวิตประจำวันได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


>