โครงการสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงวัย ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42 ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงวัย ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42 ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3325-2-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42 |
วันที่อนุมัติ | 14 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 8,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางโสภา นภานิวัติกุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม |
พื้นที่ดำเนินการ | ชุมชน ม.6 บ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) | 86.37 | ||
2 | จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน) | 3.61 | ||
3 | ร้อยละของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม | 7.89 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทย มีจำนวนผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง สถิติจำนวนผู้สูงอายุสัญชาติไทย พ.ศ. 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2567 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 13,450,391 คน จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด 64,989,504 คนหรือร้อยละ 20.70 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด(ข้อมูลจากสถิติของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ตามที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548จากการที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ไทยได้ก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ" (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึง 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ จวบจนถึงปัจจุบันและยังคงมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี สวนทางกับอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ในปี พ.ศ.2576 ที่จะถึงนี้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านสังคม และเศรษฐกิจ ของประเทศไทย โดยเฉพาะระบบบริการทางด้านสาธารณสุขที่มีความท้าทายเกี่ยวกับสุขภาพและความผาสุขของผู้สูงอายุหลายด้าน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุอย่างมาก
ดังนั้น ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 15/42 มีความมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลทั้งด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย การสร้างความเบิกบาน การสร้างความสงบในจิตใจตนเอง การป้องกันสมองเสื่อม การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่า รวมทั้งการเฝ้าระวังคัดกรองภาวะซึมเศร้า การได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลทางสังคมจิตใจ ทั้งผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งพาตนเองได้ และกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงระยะยาวรวมถึงผู้ดูแลในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสุขแก่ผู้สูงวัยต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น |
3.61 | 4.50 |
2 | เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น |
86.37 | 88.00 |
3 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสนุก ลดความเครียด ผู้สูงอายุสามารถเลือกกิจกรรมที่ทำให้ตนเองสุข สนุกได้ |
3.00 | 4.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 8,700.00 | 0 | 0.00 | |
27 ก.พ. 68 | ประชุมคณะกรรมการและแกนนำของผู้ดำเนินโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
15 - 31 มี.ค. 68 | กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย | 0 | 2,100.00 | - | ||
1 - 30 เม.ย. 68 | กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสนุก | 0 | 1,600.00 | - | ||
1 - 31 พ.ค. 68 | กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสง่า | 0 | 1,600.00 | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสว่าง | 0 | 1,600.00 | - | ||
1 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความสุขสงบ | 0 | 1,600.00 | - | ||
15 - 25 ก.ย. 68 | สรุปประเมินผลโครงการ | 0 | 200.00 | - |
ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมทั้งกายใจ และสังคม ส่งผลให้เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต สามารถดูแลตนเองได้ ดำรงชีวิตประจำวันได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2568 20:49 น.