2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
1. หลักการและเหตุผล
จากสถานการณผู้สูงอายุ มีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2568 ประเทศไทยจะกลายเป็น "สงคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Age Society และจากนั้นอีกเพียง 10 ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น "สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" Super-Aged Society ปี พ.ศ.2567 ในระดับประเทศมีประชากผู้สูงอายุร้อยละ 21.1 ระดับจังหวัดพัทลุงร้อยละ 24.56 ระดับอำเภอศรีนครินทร์ร้อยละ 23.33 สำหรับตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง (เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯ) มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,058 คน คิดเป็นร้อยละ 19.04 (จากข้อมูล HDC ณ 30 ก.ย.2567) เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย ด้วยภาวะร่างกายที่เสื่อมลง ปัญหาที่พบมาก คือ ภาวะหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม ตาต้อหิน และตาต้อกระจก การเข้าถึงการบริการยัง น้อยอยู่ ดังนั้นการที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงหรือป่วยได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสมและตรงประเด็นปัญหา หรือป้องกันความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความพิการที่เหมาะสมที่สุดคือการ คัดกรองและประเมินกลุ่มโรคและอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอาย (Geratric Syndromes) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและป่วยได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่ตรงปัญหาต่อไป รวมถึงกลุ่มปกติที่คัดแยกเข้าสู่บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) ได้อย่างทันท่วงที กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) จึงขอเสนอการดำเนินกิจกรรมการจัดบริการคัดกรองความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะหกล้มและตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
2. สถานการณ์ปัญหา
จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ)ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ปี 2567 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เสี่ยงหกล้ม คิดเป็นร้อยละ 13.03 ผู้ที่มีปัญหาด้านความคิด ความจำ คิดเป็นร้อยละ 2.70 ผู้ที่มีปัญหา ตาต้อกระจก คิดเป็นร้อยละ 10.56 และผู้ที่มีปัญหาเสี่ยงต้อหิน คิดเป็นร้อยละ 3.15 ทั้งหมดที่คัดกรอง แล้วพบว่ามีความเสี่ยง ได้รับการส่งต่อ ทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 100 ซึ่งหากผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ส่งต่ออย่างเหมาะสม ก็สามารถทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมมากขึ้น (ข้อมูลจากการคัดกรอง ปี 2567)
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองและประเมินสุขภาพเพื่อค้นหาผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพด้านสายตา ข้อเข่า และสมองเสื่อมหรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ได้รับการส่งต่อในการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับปัญหา