กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L3363-2568-1007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 12,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรวรรณ์ ทวีโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเมริษา ศรีละมุล
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่หมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9, และ 11 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล
    จากสถานการณผู้สูงอายุ มีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2568 ประเทศไทยจะกลายเป็น "สงคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Age Society และจากนั้นอีกเพียง 10 ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น "สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" Super-Aged Society ปี พ.ศ.2567 ในระดับประเทศมีประชากผู้สูงอายุร้อยละ 21.1 ระดับจังหวัดพัทลุงร้อยละ 24.56 ระดับอำเภอศรีนครินทร์ร้อยละ 23.33 สำหรับตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง (เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ฯ) มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,058 คน คิดเป็นร้อยละ 19.04 (จากข้อมูล HDC ณ 30 ก.ย.2567) เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย ด้วยภาวะร่างกายที่เสื่อมลง ปัญหาที่พบมาก คือ ภาวะหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม ตาต้อหิน และตาต้อกระจก การเข้าถึงการบริการยัง น้อยอยู่ ดังนั้นการที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงหรือป่วยได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสมและตรงประเด็นปัญหา หรือป้องกันความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความพิการที่เหมาะสมที่สุดคือการ คัดกรองและประเมินกลุ่มโรคและอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอาย (Geratric Syndromes) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและป่วยได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่ตรงปัญหาต่อไป รวมถึงกลุ่มปกติที่คัดแยกเข้าสู่บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) ได้อย่างทันท่วงที กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) จึงขอเสนอการดำเนินกิจกรรมการจัดบริการคัดกรองความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะหกล้มและตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

  2. สถานการณ์ปัญหา
    จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ)ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ปี 2567 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เสี่ยงหกล้ม คิดเป็นร้อยละ 13.03 ผู้ที่มีปัญหาด้านความคิด ความจำ คิดเป็นร้อยละ 2.70 ผู้ที่มีปัญหา ตาต้อกระจก คิดเป็นร้อยละ 10.56 และผู้ที่มีปัญหาเสี่ยงต้อหิน คิดเป็นร้อยละ 3.15 ทั้งหมดที่คัดกรอง แล้วพบว่ามีความเสี่ยง ได้รับการส่งต่อ ทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 100 ซึ่งหากผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ส่งต่ออย่างเหมาะสม ก็สามารถทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมมากขึ้น (ข้อมูลจากการคัดกรอง ปี 2567)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.มีองค์ความรู้และทักษะในการคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงผู้สูงอายุ ตามแบบคัดกรอง 9 ด้าน และผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ได้รับการประเมินซ้ำ จาก จนท. ร้อยละ 50

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ได้รับการดูแลและส่งต่อไปยังคลินิกผู้สูงอายุ ร้อยละ 100

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68
1 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม.(4 มิ.ย. 2568-4 มิ.ย. 2568) 2,400.00                
2 อสม. ลงประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน(6 มิ.ย. 2568-16 มิ.ย. 2568) 0.00                
3 วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ(17 มิ.ย. 2568-25 มิ.ย. 2568) 0.00                
4 ประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินคัดกรองสุขภาพ (ซ้ำ)(26 มิ.ย. 2568-27 มิ.ย. 2568) 9,800.00                
5 ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไปยังคลินิกผู้สูงอายุ(26 มิ.ย. 2568-31 ส.ค. 2568) 0.00                
รวม 12,200.00
1 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1000 2,400.00 0 0.00
4 มิ.ย. 68 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการทำแบบคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ 1,000 2,400.00 -
2 อสม. ลงประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1000 0.00 0 0.00
6 - 16 มิ.ย. 68 อสม. ลงประเมินคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ 1,000 0.00 -
3 วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1000 0.00 0 0.00
17 - 25 มิ.ย. 68 วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ 1,000 0.00 -
4 ประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินคัดกรองสุขภาพ (ซ้ำ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1280 9,800.00 0 0.00
26 - 27 มิ.ย. 68 ประเมินคัดกรองสุขภาพ (ซ้ำ) ผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะสมองเสื่อม ภาวะเสี่ยงหกล้ม ตาต้อหิน และตาต้อกระจก 1,280 9,800.00 -
5 ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไปยังคลินิกผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 0.00 0 0.00
26 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพไปยังคลินิกผู้สูงอายุ 150 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองและประเมินสุขภาพเพื่อค้นหาผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพด้านสายตา ข้อเข่า และสมองเสื่อมหรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ได้รับการส่งต่อในการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับปัญหา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2568 13:54 น.