กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุตำบลมูโนะสุขภาพดี กายใจแข็งแรง มีสุขด้วยสุข 5 มิติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.มูโนะ

1.นายรติ นิรมาณกุล

ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้น จำนวนผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ กลุ่มผู้สูงอายุตำบลมูโนะร้อยละ 99.99 เป็นมุสลิม การทำกิจกรรมส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นแบบวิถีชุมชนมุสลิม ตำบลมูโนะ มีประชากรทั้งหมด 11,831 คนกลุ่มผู้สูงอายุทั้งหมด 844 คน กลุ่มติดสังคม 825.คน กลุ่มติดบ้าน 15 คน กลุ่มติดเตียง 4 คน(ข้อมูลจากคลังข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ณ วันที่ 30มิถุนายน 2567 ) ตำบลูโนะ มีชมรมผู้สูงอายุ 2 ชมรมชมรมระดับตำบล 1 ชมรม ระดับหมู่บ้าน1 ชมรม การดำเนินกิจกรรม ในกลุ่มผู้สูงอายุก็ยังใช้สุข 5 มิติ คือมิติสุขสบาย ความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพร่างกายให้มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรงคล่องแคล่ว มีกำลังสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางกายภาพได้ตามสภาพที่เป็นอยู่ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำ เป็นพอเพียง ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ไม่ติดสิ่งเสพติดสุขสนุก เป็นความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ ด้วยกิจกรรมที่ก่อให้ เป็นสุขกาย สุขใจสดชื่นแจ่มใสและมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนๆ พูดคุยกับคนในครอบครัว ทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจแจ่มใส เช่น เล่นกีฬากับลูกหลานร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา สุขสง่า เน้นความเข้าใจในความเป็นไปในชีวิตความมีคุณค่าในตนเอง มีมุมมองและความรู้สึกต่อตนเองและผู้อื่นอย่างเห็นอกเห็นใจ ไม่ซึมเศร้าไม่ท้อแท้ เป็นความรู้สึกพึงพอใจ ภาคภูมิใจ มีคุณค่า เช่น เป็นที่ปรึกษาของครอบครัว ลูกหลาน เป็นจิตอาสา เป็นการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน สุขสว่าง การสื่อสาร การใช้เหตุผล และการวางแผนแก้ไขปัญหา รู้จักควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถผ่อนคลายให้เกิดความ สุขสงบ ผู้สูงอายุสามารถเข้าใจและจัดการอารมณ์เพื่อให้เกิดความสงบทางใจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่นการปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำทุกวันๆละ 5 เวลา และการตื่นขึ้นมาช่วงท้ายของกลางคืนเพื่อมานั่งซิกรูลลอฮ์(การรำลึกถึงอัลลอฮฺ )นั่งขอดูอาอฺ(สวดขอพร)ขอพร เป็นการบริหารจิตให้โปร่งใสการฟังการบรรยายธรรมเป็นต้น
เพื่อให้การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และจิตใจ เป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามอัธยาศัย สามารถรับมือกับสังคมผู้สูงอายุได้ ให้เป็นผู้สูงอายุที่สามารถเป็นพลังและกำลังสำคัญในการดูแลชุมชนต่อไปได้อย่างดี อีกทั้งสามารถเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพตนเองให้กับผู้อื่นได้ด้วย คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะซึ่งได้ดำเนินการเกี่ยวกับดูแลผู้สูงอายุมาตลอดทุกปี ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุข 5 มิติ ในผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุตำบลมูโนะ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ

ผู้สูงอายุตำบลมูโนะมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ ร้อยละ 80

0.00 80.00
2 เพื่อให้มีกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตามหลัก สุข 5 มิติ(สุขสบาย สุขสง่า.สุขสนุก,สุขสว่าง,สุขสงบ)

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุตามหลัก 5 มิติ (สุขสบาย สุขสง่า สุขสนุก สุขสงบ ) ร้อยละ 80

0.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกาย จิตใจที่แข็งแรง ลกภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกาย จิตใจที่แข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร้อยละ 80

0.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมตัว มีเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ร่วมกัน

ร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ได้เข้าร่วมในกิจกรรม

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุจัดประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุจัดประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม.จัดเก็บข้อมูล จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท 1มื้อ เป็นเงิน 375 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำสมุดบันทึกประจำตัวผู้สูงอายุจำนวน 50 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2875.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ ร่างกาย การดูแลสุขภาพ จิตใจการออกกำลังกาย ที่เหมาะสม จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ ร่างกาย การดูแลสุขภาพ จิตใจการออกกำลังกาย ที่เหมาะสม จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าวิทยากรกลุ่ม ในการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ พร้อมทั้งให้คำแนะนำการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง จำนวน 2 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50  คนๆละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.60 เมตร x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์การอบรม ปากกา แฟ้ม จำนวน 50 คนๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตามหลัก 5 มิติ (สุขสบาย สุขสง่า.สุขสนุก,สุขสว่าง,สุขสงบ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุตามหลัก 5 มิติ (สุขสบาย สุขสง่า.สุขสนุก,สุขสว่าง,สุขสงบ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครั้งที่ 1 กิจกรรม มิติสุขสบาย - ค่าตอบแทนผู้นำการออกกำลังกาย จำนวน2 คน เป็นเวลา 7 เดือนๆละ 1 ครั้งๆละ 1/2 ช.ม. ครั้งละ 300 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าวัสดุประกอบกิจกรรม จำนวน 50 ชิ้นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลกิจกรรมการออกกำลังกาย สุขกาย สบายใจ ขนาด 1 เมตร x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท ครั้งที่ 2 กิจกรรม มิติสุขสบาย และสุขสนุก 2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการการผลิตน้ำมันนวด และน้ำมันบาล์มให้กับผู้สูงอายุ - ค่าวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20คนๆละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 20 คนๆ 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท ครั้งที่ 3กิจกรรม มิติสุขสงบ 3.1 กิจกรรมบรรยายธรรมในกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ - ค่าวิทยากร จำนวน 7 เดือนๆละ 1 ครั้งจำนวน 2 ชม.ๆละ 500 บาท รวม 7 ครั้ง เป็นเงิน 7,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน50 คนๆละ 25 บาทจำนวน 7 ครั้ง เป็นเงิน 8,750 บาท ครั้งที่ 4 กิจกรรม มิติ สุขสนุกสุขสง่า และ สุขสงบ 4.1 กิจกรรมเสวนาผู้สูงอายุต้นแบบ - ค่าตอบแทนผู้สูงอายุต้นแบบ จำนวน 2ท่านๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 4.2 การบรรยายธรรมจากวิทยากรนอก ที่มีชื่อเสียงใน 3จังหวัดชายแดนใต้ - ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายธรรม บุคคลภายนอก 1 ท่าน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50คนๆละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 4.3 มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้สูงอายุต้นแบบที่ผ่านเกณฑ์ประเมินการดูแลสุขภาพตนเองสามารถเป็นตัวอย่างให้กับผู้อื่น - ค่าวัสดุจัดทำประกาศนียบัตร เป็นเงิน 500 บาท 4.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน
- ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 4 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,425.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุตำบลมูโนะมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ ร้อยละ 80
2. มีกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ ครบทั้ง 5 ส (สุขสบาย สุขสง่า สุขสนุก สุขสว่าง สุขสงบ)
3. มีเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันในผู้สูงอายุและถอดบทเรียน


>