กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 3 ต.หารเทา

นายมะยูโส๊ะ มิง
นส.อัสมา ฤทธิโต
นางบุุหงา นิสะสิกิ
นส.บุศริน ฤทธิ์โต
นางวรดา จิตรหมั้น

หมู่ที่ 3ต.หารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

40.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

45.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

15.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

7.00

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๒ ใน ๓ ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งต้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึงและประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - ๑๙ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพติจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับ ให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2565-2567 ) ผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของหมู่ที่ 3 ตำบลหารเทาพบว่าอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ คิดเป็น 2.3 , 3.33 และ 4.46 ตามลำดับ และจากการติดตามการควบคุมความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อให้ได้ตามค่าเป้าหมายของการรักษา พบว่า ควบคุมความดันได้ เพียง ร้อยละ 62.08 ,58.43 และ 50.76 ตามลำดับและอัตราผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ คิดเป็น 2.45 ,1.47 และ 1.64 ตามลำดับ และจากการติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ได้ตามค่าเป้าหมายของการรักษา พบว่า ควบคุมระดับน้ำตาลได้เพียง ร้อยละ46.95, 43.63 และ 40.72 ตามลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขในระดับหมู่บ้าน ไม่ว่าจะ เป็นการวัดความดันโลหิตเพื่อประเมินโรคความดันโลหิตสูง การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อประเมิน โรคเบาหวาน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเพื่อประเมินดัชนีมวลกาย (BMI) การวัดเส้นรอบเอวเพื่อประเมินภาวะอ้วน ลงพุง การประเมินสถานะสุขภาพของตนเองเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนรู้ข้อมูลสุขภาพและตระหนักถึงปัจจัยรบกวนทางสุขภาพต่างๆ ที่ตนต้องฝ้าระวัง

ชมรม อสม.หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวนตำบลหารเทาจึงมีความคาดหวังว่าจะช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังลงได้ จึงได้เขียนโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน ( Health Station) ขึ้น ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหารเทาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชน ( Health station) สำหรับประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน

มีจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชน ( Health station) สำหรับประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน  จำนวน 1  จุด

0.00 1.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดอกเอว

ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดอกเอว  มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่แพทย์ต้องติดตาม ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเข้าถึงบริการได้ อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 230
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางและวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางและวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางและวางแผนการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2568 ถึง 10 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีคณะทำงาน จำนวน 32 คน
  2. คณะทำงาน รู้ เข้าใจ แนวทางการทำงาน ตามโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การดูแล ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
-เครื่องตรวจระดับน้ำตาล1 เครื่องละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- แถบตรวจระดับตาลในเลือด(25 ชิ้น/กล่องกล่องละ 450 บาท จำนวน 4กล่อง เป็นเงิน 1,800 บาท
-เข็มเจาะ ปลายนิ้ว 200 ชิ้น ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- เครื่องวัดวามดันโลหิตแบบแสดงภาวะหัวใจ 2เครื่องๆ ละ 3,700 บาท เป็นเงิน 7,400 บาท
- เครื่องชั่งน้ำหนัก2เครื่องๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ที่วัดส่วนสูงแบบพกพา 2 อัน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- สายวัดรอบเอวแบบตลับ 2 อัน ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มี วัสดุ และอุปกรณ์เพียงพอ ครบถ้วยในการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15220.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพ ให้สามารถใช้อุปกรณ์ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพ ให้สามารถใช้อุปกรณ์ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพ. ให้สามารถใช้อุปกรณ์ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง
ค่าใช้จ่ายมีดังนี้
- วงล้อแสดงผลการประเมินดัชนีมวลกาย(ฺBMI)อัน ๆ ละ 1500 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
-วงล้อเกณฑ์ความเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลิตสูงอัน ๆ ละ 1500 บาท เป็นเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพ มีความรู้ สามารถให้บริการตรวจคัดกรอง แนะนำ ดูแลสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์การเข้าใช้จุดบริการให้ประชาชนรับทราบ ผ่านสื่อต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์การเข้าใช้จุดบริการให้ประชาชนรับทราบ ผ่านสื่อต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์การเข้าใช้จุดบริการให้ประชาชนรับทราบ ผ่านสื่อต่างๆ
- ป้ายไวนิล แสดง จุดให้บริการ สถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน พร้อม คิวอาร์โค๊ชจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้น รับทราบ และเข้าถึงบริการ การดูแลสุขภาพ อย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 5 ให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องตันแก่ประชาชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องตันแก่ประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องตันแก่ประชาชนในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และประเมินภาวะสุขภาพ ได้รับการตรวจคัดกรอง มากกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยให้การแนะนำ และรักษาที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยให้การแนะนำ และรักษาที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ติดตาม ดูแล กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในชุมชนอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในชุมชนได้รับการเยี่ยมดูแลอย่างต่อเนื่อง ทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 1 ครั้ง มีรายงานผลการประเมินโครงการจำนวน 1 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,220.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างทั่วถึงสะดวก และรวดเร็ว ใกล้บ้านใกล้ใจ
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม (Health Literacy & SelfCare)
3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเองและสามารถรู้ค่าความดันโลหิตสูง และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเองและสามารถรู้ค่าปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด และควบคุมระดับน้ำตาลได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
5.อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากเดิม


>