โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน
ชื่อโครงการ | โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน |
รหัสโครงการ | L3339-68-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 3 ต.หารเทา |
วันที่อนุมัติ | 7 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 20,220.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.หารเทา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวาลัยพร ด้วงคง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 230 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 40.00 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 45.00 | ||
3 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) | 15.00 | ||
4 | ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย | 7.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๒ ใน ๓ ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งต้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึงและประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - ๑๙ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพติจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับ ให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2565-2567 ) ผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของหมู่ที่ 3 ตำบลหารเทาพบว่าอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ คิดเป็น 2.3 , 3.33 และ 4.46 ตามลำดับ และจากการติดตามการควบคุมความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อให้ได้ตามค่าเป้าหมายของการรักษา พบว่า ควบคุมความดันได้ เพียง ร้อยละ 62.08 ,58.43 และ 50.76 ตามลำดับและอัตราผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ คิดเป็น 2.45 ,1.47 และ 1.64 ตามลำดับ และจากการติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ได้ตามค่าเป้าหมายของการรักษา พบว่า ควบคุมระดับน้ำตาลได้เพียง ร้อยละ46.95, 43.63 และ 40.72 ตามลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขในระดับหมู่บ้าน ไม่ว่าจะ เป็นการวัดความดันโลหิตเพื่อประเมินโรคความดันโลหิตสูง การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อประเมิน โรคเบาหวาน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเพื่อประเมินดัชนีมวลกาย (BMI) การวัดเส้นรอบเอวเพื่อประเมินภาวะอ้วน ลงพุง การประเมินสถานะสุขภาพของตนเองเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนรู้ข้อมูลสุขภาพและตระหนักถึงปัจจัยรบกวนทางสุขภาพต่างๆ ที่ตนต้องฝ้าระวัง
ชมรม อสม.หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวนตำบลหารเทาจึงมีความคาดหวังว่าจะช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังลงได้ จึงได้เขียนโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน ( Health Station) ขึ้น ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหารเทาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อจัดตั้งจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชน ( Health station) สำหรับประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน มีจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชน ( Health station) สำหรับประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านม่วงทวน จำนวน 1 จุด |
0.00 | 1.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดอกเอว ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดอกเอว มากกว่าร้อยละ 80 |
60.00 | 80.00 |
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยที่แพทย์ต้องติดตาม ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเข้าถึงบริการได้ อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
5 - 10 มี.ค. 68 | ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางและวางแผนการดำเนินงาน | 0 | 0.00 | - | ||
10 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 | จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ | 0 | 15,220.00 | - | ||
20 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 | อบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพ ให้สามารถใช้อุปกรณ์ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง | 0 | 3,000.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | ให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องตันแก่ประชาชนในพื้นที่ | 0 | 0.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 พ.ค. 68 | ประชาสัมพันธ์การเข้าใช้จุดบริการให้ประชาชนรับทราบ ผ่านสื่อต่างๆ | 0 | 2,000.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยให้การแนะนำ และรักษาที่เหมาะสม | 0 | 0.00 | - | ||
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 20,220.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างทั่วถึงสะดวก และรวดเร็ว ใกล้บ้านใกล้ใจ
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม (Health Literacy & SelfCare)
3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเองและสามารถรู้ค่าความดันโลหิตสูง และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเองและสามารถรู้ค่าปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด และควบคุมระดับน้ำตาลได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
5.อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากเดิม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2568 00:00 น.