2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการที่สำคัญทั่วโลกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วโลกพบว่า 1 ใน 4 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไปเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และ 90% ของโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข สธ. ในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี กรมควบคุมโรคได้แนะวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องในวันหลอดเลือดสมองโลก ปี 2566 ว่า โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ “ป้องกันไว้ดีกว่าการรักษา” เนื่องจากการรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิด ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ทำได้โดยการควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ งดการใช้สารเสพติดทุกชนิด หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จากการคัดกรองความดันโลหิตประชากรอายุ35 ปีขึ้นไปปี 2567 พบว่า ได้รับการคัดกรอง จํานวน 1,753 คิดเป็น ร้อยละ 90.36 กลุ่มเสี่ยง138 คน คิดเป็นร้อยละ7.87 กลุ่มสงสัยป่วยจํานวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 3.07 คน คัดกรองเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง จํานวน 1,498คน คิดเป็นร้อยละ 90.13 กลุ่มเสี่ยง จํานวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 7.34 สงสัยป่วย จํานวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 0.68 และพบว่ากลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องจะกลายเป็นผู้ป่วยและมีโอกาสที่จะกลายเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนธานีได้เล็งเห็นความสำคัญของการติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานได้ โดยใช้กระบวนการติดตามกลุ่มเสี่ยงของบัดดี้ อสม.อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่กลายเป็นผู้ป่วย และสามารถกลับมาเป็นกลุ่มปกติได้ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลควนธานีปี 2568
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 15/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประชาชนทั่วไปมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
๒.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายใหม่
3.มีข้อตกลงร่วมกันของชุมชนในการลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน