โครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลควนธานีปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลควนธานีปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1464-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนธานี |
วันที่อนุมัติ | 17 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 15 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,020.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจิรารัตน์ งามวัฒนะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 85 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการที่สำคัญทั่วโลกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วโลกพบว่า 1 ใน 4 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไปเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และ 90% ของโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข สธ. ในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี กรมควบคุมโรคได้แนะวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องในวันหลอดเลือดสมองโลก ปี 2566 ว่า โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ “ป้องกันไว้ดีกว่าการรักษา” เนื่องจากการรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิด ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ทำได้โดยการควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ งดการใช้สารเสพติดทุกชนิด หลีกเลี่ยงความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จากการคัดกรองความดันโลหิตประชากรอายุ35 ปีขึ้นไปปี 2567 พบว่า ได้รับการคัดกรอง จํานวน 1,753 คิดเป็น ร้อยละ 90.36 กลุ่มเสี่ยง138 คน คิดเป็นร้อยละ7.87 กลุ่มสงสัยป่วยจํานวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 3.07 คน คัดกรองเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง จํานวน 1,498คน คิดเป็นร้อยละ 90.13 กลุ่มเสี่ยง จํานวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 7.34 สงสัยป่วย จํานวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ 0.68 และพบว่ากลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องจะกลายเป็นผู้ป่วยและมีโอกาสที่จะกลายเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนธานีได้เล็งเห็นความสำคัญของการติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานได้ โดยใช้กระบวนการติดตามกลุ่มเสี่ยงของบัดดี้ อสม.อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่กลายเป็นผู้ป่วย และสามารถกลับมาเป็นกลุ่มปกติได้ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลควนธานีปี 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1.อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในกลุ่มเสี่ยงลดลง |
3.00 | 80.00 |
2 | 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมาตรการ 3 อ.2 ส. 2.มีบุคคลต้นแบบ ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง |
3.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 21,020.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 15 ก.ย. 68 | 1.อบรมให้กลุ่มเสี่ยง เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย 3 อ.2 ส. รวม 85 คน | 0 | 12,350.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ส.ค. 68 | 2.ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน โดยการวัดความดันโลหิต และเจาะน้ำตาลในเลือด โดยอสม.เดือนละ 1 ครั้ง | 0 | 8,670.00 | - |
๑.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประชาชนทั่วไปมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
๒.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายใหม่
3.มีข้อตกลงร่วมกันของชุมชนในการลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2568 08:47 น.