2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสำคัญที่คุกคามสุขภาพของสตรีไทยในปัจจุบัน มีอัตราป่วยและอัตราตายสูงขึ้นทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2566 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 310,720 ราย/ปี ส่วนในประเทศไทย ปี 2565 พบว่าหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 38,559 ราย/ปี และพบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิง แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก
ข้อมูลสถิติของหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งเลียบ อ้างอิงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลทุ่งตำเสา ณ วันที่19 มกราคม 2568มีจำนวนประชากรเพศหญิง972 คน อายุ30ปีขึ้นไป 559 คน แบ่งอายุระหว่าง 30-70ปีจำนวน 471 คน และ อายุ 70 ปีขึ้นไปจำนวน 88คน (เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 12 คนอายุระหว่าง 30-70ปี ) ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมประกอบด้วย 3 วิธี 1) การตรวจคัดกรองด้วยตนเอง (BSE) เริ่มตรวจได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป โดยควรตรวจคัดกรองด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน 2) การตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ (CBE) 3) การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammography) แม้ว่าการตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่การให้บริการยังไม่สามารถครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองนั้นสามารถพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 80และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้สูงขึ้น
ดังนั้นทางชมรมรักษ์ทุ่งเลียบ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายของโรคมะเร็งเต้านม จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมแก่ สตรีไทยอายุ 30 ปีขึ้นไป ในชุมชนบ้านทุ่งเลียบ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเพื่อให้สตรีในชุมชมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายของโรคมะเร็งเต้านม สามารถลดความเสี่ยง หันมาใส่ใจดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจคัดกรองโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ จะช่วยให้ค้นหาโรคมะเร็งเต้านมได้ในระยะเริ่มต้น ทำให้สามารถรักษาให้หายได้ และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วย โดยเน้นเรื่องการป้องกันดีกว่าการรักษา
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 31/03/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งเต้านมโดยศัลยแพทย์
3.ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีอาการได้รับการส่งต่อตามสิทธิ์การรักษา