โครงการให้ความรู้โรคมะเร็งเต้านม และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งเลียบ
ชื่อโครงการ | โครงการให้ความรู้โรคมะเร็งเต้านม และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งเลียบ |
รหัสโครงการ | 68-L5275-02-001 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมรักษ์ทุ่งเลียบ |
วันที่อนุมัติ | 24 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 มีนาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,582.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางประกายดาว สุนทร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | บ้านทุ่งเลียบ ม.1 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสำคัญที่คุกคามสุขภาพของสตรีไทยในปัจจุบัน มีอัตราป่วยและอัตราตายสูงขึ้นทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2566 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 310,720 ราย/ปี ส่วนในประเทศไทย ปี 2565 พบว่าหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านม จำนวน 38,559 ราย/ปี และพบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิง แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก ข้อมูลสถิติของหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งเลียบ อ้างอิงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลทุ่งตำเสา ณ วันที่19 มกราคม 2568มีจำนวนประชากรเพศหญิง972 คน อายุ30ปีขึ้นไป 559 คน แบ่งอายุระหว่าง 30-70ปีจำนวน 471 คน และ อายุ 70 ปีขึ้นไปจำนวน 88คน (เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 12 คนอายุระหว่าง 30-70ปี ) ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูง การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมประกอบด้วย 3 วิธี 1) การตรวจคัดกรองด้วยตนเอง (BSE) เริ่มตรวจได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป โดยควรตรวจคัดกรองด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน 2) การตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ (CBE) 3) การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammography) แม้ว่าการตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่การให้บริการยังไม่สามารถครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองนั้นสามารถพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 80และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้สูงขึ้น ดังนั้นทางชมรมรักษ์ทุ่งเลียบ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายของโรคมะเร็งเต้านม จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมแก่ สตรีไทยอายุ 30 ปีขึ้นไป ในชุมชนบ้านทุ่งเลียบ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเพื่อให้สตรีในชุมชมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายของโรคมะเร็งเต้านม สามารถลดความเสี่ยง หันมาใส่ใจดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจคัดกรองโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ จะช่วยให้ค้นหาโรคมะเร็งเต้านมได้ในระยะเริ่มต้น ทำให้สามารถรักษาให้หายได้ และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วย โดยเน้นเรื่องการป้องกันดีกว่าการรักษา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
|
0.00 | |
2 | ๒.เพื่อตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งเต้านมโดยศัลยแพทย์ / รังสีแพทย์
|
0.00 | |
3 | ๓.เพื่อให้กลุ่มที่มีอาการได้รับการส่งต่อตามสิทธิ์การรักษา โดยแพทย์เฉพาะทางต่อไป
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 31 มี.ค. 68 | ๑.ประชุมคณะทำงาน | 0 | 300.00 | - | ||
1 - 31 มี.ค. 68 | ๒.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมาชิกที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ | 0 | 900.00 | - | ||
1 - 31 มี.ค. 68 | ๓.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม | 0 | 8,982.00 | - | ||
1 - 31 มี.ค. 68 | 4.บรรยายให้ความรู้ เรื่องโรคมะเร็งเต้านม โดยแพทย์ | 0 | 400.00 | - | ||
รวม | 0 | 10,582.00 | 0 | 0.00 |
1.ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง 2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งเต้านมโดยศัลยแพทย์ 3.ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีอาการได้รับการส่งต่อตามสิทธิ์การรักษา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 11:19 น.