กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต

1.นางสาวณัฏฐ์นรีสังข์แก้ว
2.นายเจริญศักดิ์ ทองอ่อน
3.นางพรเพ็ญ มากเอียด
4.นางพรทิพย์ เรืองพุทธ
5.นางสาวสาวิตรี จันทร์มณี

ม.6 และ ม.9 ต.เขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

39.00
2 ร้อยละของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เช่น ใช้สารเคมีในการเกษตรโดยป้องกันตนเองไม่เหมาะสม

 

2.85

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ตำบลเขาปู่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำไร่ สวนผลไม้ และสวนยางพารา ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในเขตพื้นที่ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธี ขาดความรู้และความตระหนักในการใช้สารเคมีให้ถูกต้อง จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ทำให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งรักษาต่อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

40.00 40.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีผลการทดสอบระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส อยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสซ้ำ และมีผลอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

40.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหมู่ที่ 6 ตำบลเขาปู่ วิทยากร และทีมผู้จัด จำนวน 25 คน X 2 มื้อ X 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหมู่ที่ 9 ตำบลเขาปู่ วิทยากร และทีมผู้จัด จำนวน 25 คน X 2 มื้อ X 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมหมู่ที่ 6 ตำบลเขาปู่ วิทยากร และทีมผู้จัด จำนวน 25 คน X 80 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมหมู่ที่ 9 ตำบลเขาปู่ วิทยากร และทีมผู้จัด จำนวน 25 คน X 80 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เกษตรกรมีความรู้เรื่องการเลือกใช้สารกำจัดศัตรูพืชและแนวทางการป้องกัน -ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 2 เกษตรกรที่มีระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจเลือดซ้ำครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
เกษตรกรที่มีระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจเลือดซ้ำครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหมู่ที่ 6 ตำบลเขาปู่ และทีมผู้จัด จำนวน 20 คน X 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมหมู่ที่ 9 ตำบลเขาปู่ และทีมผู้จัด จำนวน 20 คน X 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีผลการตรวจซ้ำในระดับเกณฑ์ปกติและปลอดภัยมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนที่ได้รับการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ปกติ


>