กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3366-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 15,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ตำบลเขาปู่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
39.00
2 ร้อยละของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เช่น ใช้สารเคมีในการเกษตรโดยป้องกันตนเองไม่เหมาะสม
2.85

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ตำบลเขาปู่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำไร่ สวนผลไม้ และสวนยางพารา ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในเขตพื้นที่ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธี ขาดความรู้และความตระหนักในการใช้สารเคมีให้ถูกต้อง จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ทำให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำเพื่อส่งรักษาต่อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

40.00 40.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีผลการทดสอบระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส อยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสซ้ำ และมีผลอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

40.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,400.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 จัดอบรมให้ความรู้ แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร 0 14,200.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 เกษตรกรที่มีระดับการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย ได้รับการตรวจเลือดซ้ำครั้งที่ 2 0 1,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนที่ได้รับการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 11:23 น.