กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาววังศิลาไร้เหา สบายหัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

โรงเรียนบ้านวังศิลา

โรงเรียนบ้านวังศิลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคเหาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้บ่อยในโรงเรียนประถมศึกษา โดยเฉพาะในเด็กอายุ 6-12 ปี การติดเหาไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตและการเรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย เด็กที่มีเหาอาจรู้สึกอับอาย ขาดความมั่นใจ และมีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน นอกจากนี้อาการคันศีรษะยังรบกวนสมาธิในการเรียน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ลดลง
จากการสำรวจสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนของเรา พบว่ามีนักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาเหา ทั้งในนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย สาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาดของเหาในโรงเรียนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ของส่วนตัวร่วมกันของนักเรียน เช่น ผ้าละหมาด หวี และอุปกรณ์แต่งผม รวมถึงการติดต่อระหว่างพี่น้องที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งมักมีการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเหาได้ง่าย
ดังนั้น โรงเรียนบ้านวังศิลา จึงได้จัดทำโครงการ "ชาววังศิลาไร้เหา สบายหัว" ขึ้น โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ผ่านการให้ความรู้ การป้องกัน และการรักษาที่ถูกวิธี โดยคำนึงถึงวิถีชีวิตของนักเรียน รวมถึงการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อการป้องกันการติดเหา และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน
โครงการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียน ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเหาในโรงเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดี อันจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และการเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาการระบาดของเหาในนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความเข้าใจเรื่องแก้ไขและป้องกันปัญหาการระบาดของเหา

80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผมและศีรษะที่ถูกต้อง

นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน มีความเข้าใจเรื่อง การดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผมและศีรษะที่ถูกต้อง

80.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และครูมีความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธี

นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน มีความเข้าใจเรื่อง การป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธี

80.00
4 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหาเหา

ครู และผู้ปกครองร่วมกันการแก้ไขปัญหาเหา เช่น การร่วมกันดูแลความสะอาด และกำจัดเหาอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน

70.00
5 เพื่อลดอัตราการติดเหาในนักเรียนใ

นักเรียนที่ติดเหามีน้อยกว่า ร้อยละ 10

10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 42
กลุ่มวัยทำงาน 22
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2025

กำหนดเสร็จ 04/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสำรวจและคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจและคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสำรวจและคัดกรอง  โดยมีงบประมาณดังนี้

  • ค่าวัสดุ - อุปกรณ์ (กระดาษ A4,กระดาษทำปก, เทปเลคซีน, ไฟฉาย, หวี, หวีสาง เป็นเงิน  2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้  โดยมีงบประมาณดังนี้

  • ค่าวิทยากร 600 บ. x 2 ชม. x 1 คน = 1,200 บ.
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. x 22 คน = 1,540 บ.
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ. x 64 คน = 1,920 บ.
  • ค่าป้ายโครงการ 1x4 เมตรx250 บ. = 1,000 บ.
  • ค่าสื่อ 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2568 ถึง 5 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8660.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกำจัดเหา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกำจัดเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมกำจัดเหา โดยมีงบประมาณดังนี้

  • ค่าวิทยากร 600 บ. x 2 ชม. x 1 คน = 1,200 บ.
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ. x 64 คน = 1,920 บ.
  • ค่าวัสดุ - อุปกรณ์ สำหรับกำจัดเหา (แชมพู ยากำจัดเหา หวีสาง หวี) 11,220 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2568 ถึง 5 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาการระบาดของเหาในนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผมและศีรษะที่ถูกต้อง
3. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และครูมีความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธี
4. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหาเหา
5. เพื่อลดอัตราการติดเหาในนักเรียนให้น้อยกว่าร้อยละ 10


>