กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาววังศิลาไร้เหา สบายหัว
รหัสโครงการ 68-L4120-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านวังศิลา
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 พฤษภาคม 2568 - 4 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทิพวรรณ ธนธัญกิตติคุณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ย. 2568 25,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 22 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคเหาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้บ่อยในโรงเรียนประถมศึกษา โดยเฉพาะในเด็กอายุ 6-12 ปี การติดเหาไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตและการเรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย เด็กที่มีเหาอาจรู้สึกอับอาย ขาดความมั่นใจ และมีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน นอกจากนี้อาการคันศีรษะยังรบกวนสมาธิในการเรียน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ลดลง จากการสำรวจสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนของเรา พบว่ามีนักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาเหา ทั้งในนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย สาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาดของเหาในโรงเรียนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ของส่วนตัวร่วมกันของนักเรียน เช่น ผ้าละหมาด หวี และอุปกรณ์แต่งผม รวมถึงการติดต่อระหว่างพี่น้องที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งมักมีการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเหาได้ง่าย ดังนั้น โรงเรียนบ้านวังศิลา จึงได้จัดทำโครงการ "ชาววังศิลาไร้เหา สบายหัว" ขึ้น โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ผ่านการให้ความรู้ การป้องกัน และการรักษาที่ถูกวิธี โดยคำนึงถึงวิถีชีวิตของนักเรียน รวมถึงการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อการป้องกันการติดเหา และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน โครงการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียน ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเหาในโรงเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดี อันจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และการเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาการระบาดของเหาในนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความเข้าใจเรื่องแก้ไขและป้องกันปัญหาการระบาดของเหา

80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผมและศีรษะที่ถูกต้อง

นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน มีความเข้าใจเรื่อง การดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผมและศีรษะที่ถูกต้อง

80.00
3 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และครูมีความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธี

นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน มีความเข้าใจเรื่อง การป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธี

80.00
4 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหาเหา

ครู และผู้ปกครองร่วมกันการแก้ไขปัญหาเหา เช่น การร่วมกันดูแลความสะอาด และกำจัดเหาอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน

70.00
5 เพื่อลดอัตราการติดเหาในนักเรียนใ

นักเรียนที่ติดเหามีน้อยกว่า ร้อยละ 10

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 42 25,000.00 0 0.00
30 พ.ค. 68 กิจกรรมสำรวจและคัดกรอง 0 2,000.00 -
5 มิ.ย. 68 กิจกรรมให้ความรู้ 0 8,660.00 -
5 มิ.ย. 68 กิจกรรมกำจัดเหา 0 14,340.00 -
13 มิ.ย. 68 - 4 ก.ค. 68 กิจกรรมติดตามผล 42 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาการระบาดของเหาในนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    1. เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผมและศีรษะที่ถูกต้อง
    2. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และครูมีความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธี
    3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหาเหา
    4. เพื่อลดอัตราการติดเหาในนักเรียนให้น้อยกว่าร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 00:00 น.