2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทาน เป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่า เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบาดขึ้นในจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส เช่น โรคคอตีบและโรคหัดซึ่งทำให้เด็กตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กที่เสียชีวิตนั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลยแม้แต่ครั้งเดียวจึงไม่มีภูมิต้านทานโรค ในพื้นที่ตำบลบ้านแหร พบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ จากผลการดำเนินงานใน ปี 2567 ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเด็กอายุ 1 ปีคิดเป็นร้อยละ 45.16 เด็กอายุ 2 ปี ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 58.62 เด็กอายุ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.17 และเด็กอายุ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 74.07 ตามลำดับ พบว่ามีความครอบคลุมต่ำกว่า ร้อยละ 95 ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับ และในส่วนของการดำเนินงานในกิจกรรมโภชนาการประชากรเด็ก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2567 นั้นยังพบปัญหาเด็ก 0-5 ปี ยังมีภาวะโภชนาการที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 53.89 ซึ่งยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66 อีกทั้งการตรวจพัฒนาการในสถานบริการนั้นผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ให้ความร่วมมือในการพาบุตรหลานมาตรวจพัฒนาการที่สถานบริการ ซึ่งการตรวจพัฒนาการเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยคัดกรองเบื้องต้นเพื่อหาความผิดปกติของเด็กในระยะแรก
ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไกจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จัดทำโครงการหนูน้อย4ดี (สุขภาพดีโภชนาการดี พัฒนาการดี วัคซีนดี) ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อบูรณาการทั้ง 3 ส่วน วัคซีน โภชนาการ และพัฒนาการ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/03/2025
กำหนดเสร็จ 29/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้ปกครองมีวามรู้ และตระหนักและเห็นความสำคัญของการเกิดโรค จากการที่ไม่ได้รับวัคซีน
2. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการเข้าถึงการรับบริการวัคซีนครบตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
3. ผู้ปกครองสามารถตรวจพัฒนาการ โภชนาการของลูกน้อยได้ด้วยตนเอง
4. ให้เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม