โครงการหนูน้อย 4 ดี (สุขภาพดี โภชนาการดี พัฒนาการดี วัคซีนดี)
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อย 4 ดี (สุขภาพดี โภชนาการดี พัฒนาการดี วัคซีนดี) |
รหัสโครงการ | 68-L4120-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 29 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะยือรี หะแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 31 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 11,900.00 | |||
รวมงบประมาณ | 11,900.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทาน เป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่า เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบาดขึ้นในจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส เช่น โรคคอตีบและโรคหัดซึ่งทำให้เด็กตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กที่เสียชีวิตนั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลยแม้แต่ครั้งเดียวจึงไม่มีภูมิต้านทานโรค ในพื้นที่ตำบลบ้านแหร พบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ จากผลการดำเนินงานใน ปี 2567 ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเด็กอายุ 1 ปีคิดเป็นร้อยละ 45.16 เด็กอายุ 2 ปี ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 58.62 เด็กอายุ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.17 และเด็กอายุ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 74.07 ตามลำดับ พบว่ามีความครอบคลุมต่ำกว่า ร้อยละ 95 ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับ และในส่วนของการดำเนินงานในกิจกรรมโภชนาการประชากรเด็ก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2567 นั้นยังพบปัญหาเด็ก 0-5 ปี ยังมีภาวะโภชนาการที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 53.89 ซึ่งยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66 อีกทั้งการตรวจพัฒนาการในสถานบริการนั้นผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ให้ความร่วมมือในการพาบุตรหลานมาตรวจพัฒนาการที่สถานบริการ ซึ่งการตรวจพัฒนาการเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยคัดกรองเบื้องต้นเพื่อหาความผิดปกติของเด็กในระยะแรก
ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไกจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จัดทำโครงการหนูน้อย4ดี (สุขภาพดีโภชนาการดี พัฒนาการดี วัคซีนดี) ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อบูรณาการทั้ง 3 ส่วน วัคซีน โภชนาการ และพัฒนาการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และเห็นความสำคัญของการรับวัคซีน และการตรวจภาวะโภชนาการพัฒนาการในเด็กได้ด้วยตนเอง ความรู้และเห็นความสำคัญของการรับวัคซีน และการตรวจภาวะโภชนาการพัฒนาการในเด็ก |
0.00 | |
2 | เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โภชนาการและพัฒนาการตามเกณฑ์ -เด็ก0-5ปี ได้รับวัคซีนมากขึ้นจากปี2565ร้อยละ 10 -เด็ก0-5ปี มีภาวะโภชนาการที่ปกติมากกว่าร้อยละ 66 -เด็ก0-5ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการที่สถานบริการตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 11,900.00 | 0 | 0.00 | |
3 - 31 มี.ค. 68 | กิจกรรมสำรวจ ติดตามเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามนัดและประเมินภาวะโภชนาการเด็กในพื้นที่ | 0 | 4,000.00 | - | ||
3 - 31 มี.ค. 68 | กิจกรรมจัดอบรม ให้ความรู้ตัวแทนผู้ปกครองในพื้นที่หมู่ 3 (กลุ่มที่บ่ายเบี่ยง ปฏิเสธวัคซีน) | 0 | 7,900.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 - 29 ก.ย. 68 | กิจกรรมลงพื้นที่เชิงรุกให้บริการฉีดวัคซีนเด็กในหมู่บ้าน พร้อมให้สุขศึกษา คำแนะนำแก่ผู้ปครอง | 0 | 0.00 | - |
- ผู้ปกครองมีวามรู้ และตระหนักและเห็นความสำคัญของการเกิดโรค จากการที่ไม่ได้รับวัคซีน
- เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการเข้าถึงการรับบริการวัคซีนครบตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
- ผู้ปกครองสามารถตรวจพัฒนาการ โภชนาการของลูกน้อยได้ด้วยตนเอง
- ให้เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 00:00 น.