กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ รหัส กปท. L3331

อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
กลุ่มคน
นายแพทย์ทรงเกียรติ พลเพชร ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางแก้ว
3.
หลักการและเหตุผล

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพเกษตรกร เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ซึ่งพื้นที่ของอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และเกษตรกรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นการเกษตรเพื่อบริโภค มาเป็นการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องเพิ่มผลผลิต ทำให้ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องมีการใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโต จึงกระจายและขยายการใช้สารเคมีเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพทั้งเกษตรและผู้บริโภค
ในปีงบประมาณ 2567 เกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมีซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ จำนวน 300 ราย ผลการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสพบผลการตรวจดังนี้ กลุ่มปกติ จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 กลุ่มปลอดภัย จำนวน 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.67 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 34 และกลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.33 ซึ่งจากผลตรวจในปีงบประมาณ 2567 พบว่า เกษตรกรและผู้ภบริโภคกลุ่มเสี่ยงโดยส่วนใญ่มีผลการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสอยู่ในเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จึงเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและผู้บริโภคยังมีโอกาสสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และลดอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และการนำสมุนไพรชาชงรางจืดมาใช้ในการช่วยล้างพิษในร่างกายให้กับเกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเรื่องสมุนไพร/การใช้สมุนไพรเพื่อล้างพิษ
    ตัวชี้วัด : เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 96.00
  • 2. เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและในกลุ่มผู้บริโภค
    ตัวชี้วัด : เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรส ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 96.00
  • 3. เพื่อให้เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ที่มีผลตรวจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสซ้ำ หลังได้รับสมุนไพรชาชงรางจืดมาใช้ในการช่วยล้างสารพิษในร่างกาย
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของเกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ที่มีผลตรวจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสซ้ำ หลังได้รับสมุนไพรชาชงรางจืดเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมี
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 96.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกร/ผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง จำนวน 120 ราย
    รายละเอียด
    • ค่ากระดาษทดสอบสารโคลีนเอสเตอร์เรส จำนวน 2 ขวด x 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
    • ค่าเข็มเจาะเลือด จำนวน 1 กล่อง x 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท
    • ค่า capillary tube สำหรับเก็บเลือด จำนวน 2 ขวด x 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
    งบประมาณ 3,550.00 บาท
  • 2. การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร/ผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน x 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    งบประมาณ 3,000.00 บาท
  • 3. ตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสซ้ำ ครั้งที่ 2 ในเกษตรกร/ผู้บริโภค ที่มีผลอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มไม่ปลอดภัย
    รายละเอียด
    • ค่ากระดาษทดสอบสารโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 1 ขวด x 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    • ค่าเข็มเจาะเลือด จำวน 1 กล่อง x 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท
    • ค่า capillary tube สำหรับเก็บเลือด จำนวน 1 ขวด x 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท
    งบประมาณ 2,150.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 120 คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

เทศบาลตำบลท่ามะเดื่่อ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 8,700.00 บาท

หมายเหตุ : - งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองและการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมี
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ รหัส กปท. L3331

อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ รหัส กปท. L3331

อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 8,700.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................