2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพเกษตรกร เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ซึ่งพื้นที่ของอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และเกษตรกรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นการเกษตรเพื่อบริโภค มาเป็นการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องเพิ่มผลผลิต ทำให้ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องมีการใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโต จึงกระจายและขยายการใช้สารเคมีเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพทั้งเกษตรและผู้บริโภค
ในปีงบประมาณ 2567 เกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมีซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ จำนวน 300 ราย ผลการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสพบผลการตรวจดังนี้ กลุ่มปกติ จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 กลุ่มปลอดภัย จำนวน 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.67 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 34 และกลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.33 ซึ่งจากผลตรวจในปีงบประมาณ 2567 พบว่า เกษตรกรและผู้ภบริโภคกลุ่มเสี่ยงโดยส่วนใญ่มีผลการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสอยู่ในเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา
ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จึงเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและผู้บริโภคยังมีโอกาสสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และลดอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และการนำสมุนไพรชาชงรางจืดมาใช้ในการช่วยล้างพิษในร่างกายให้กับเกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/07/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?- เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองและการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมี