กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ
รหัสโครงการ 2568-L3331-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2568
งบประมาณ 8,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวประภาศรี นวลสระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย
43.33
2 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ
4,012.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพเกษตรกร เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ซึ่งพื้นที่ของอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และเกษตรกรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นการเกษตรเพื่อบริโภค มาเป็นการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องเพิ่มผลผลิต ทำให้ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องมีการใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโต จึงกระจายและขยายการใช้สารเคมีเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพทั้งเกษตรและผู้บริโภค
ในปีงบประมาณ 2567 เกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมีซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ จำนวน 300 ราย ผลการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสพบผลการตรวจดังนี้ กลุ่มปกติ จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 กลุ่มปลอดภัย จำนวน 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.67 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 34 และกลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.33 ซึ่งจากผลตรวจในปีงบประมาณ 2567 พบว่า เกษตรกรและผู้ภบริโภคกลุ่มเสี่ยงโดยส่วนใญ่มีผลการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสอยู่ในเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจำนวนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จึงเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและผู้บริโภคยังมีโอกาสสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน และลดอันตราย จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และการนำสมุนไพรชาชงรางจืดมาใช้ในการช่วยล้างพิษในร่างกายให้กับเกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเรื่องสมุนไพร/การใช้สมุนไพรเพื่อล้างพิษ

เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 96.00
2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและในกลุ่มผู้บริโภค

เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรส ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00 96.00
3 เพื่อให้เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ที่มีผลตรวจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสซ้ำ หลังได้รับสมุนไพรชาชงรางจืดมาใช้ในการช่วยล้างสารพิษในร่างกาย

ร้อยละ 80 ของเกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ที่มีผลตรวจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสซ้ำ หลังได้รับสมุนไพรชาชงรางจืดเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมี

0.00 96.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,700.00 0 0.00
1 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 ตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกร/ผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง จำนวน 120 ราย 0 3,550.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร/ผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง 0 3,000.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 ตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสซ้ำ ครั้งที่ 2 ในเกษตรกร/ผู้บริโภค ที่มีผลอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มไม่ปลอดภัย 0 2,150.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เกษตรกร/ผู้บริโภค กลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจเลือดหาสารโคลีนเอสเตอเรสและมีความรู้ในการดูแลตนเองและการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.