กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากใน ศพด.ตำบลแป-ระ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ

ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากในเด็กปฐมวัย ปัจจุบันโรคฟันผุในเด็กเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 - 3 ปี การที่เด็กมีฟันที่ผุทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ นอนไม่หลับ และสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่เกิดภาวะเตี้ยแคระแกร็น และมีเส้นรอบวงสมองเล็กกว่าเด็กปกติได้ (สำนักงานทันตสาธารณสุขกรมอนามัย, 2556) รอยยิ้มที่สดใสของเด็กบ่งบอกถึงการมีสุขภาพดีและรอยยิ้มที่สดใสจำเป็นต้องมีฟันสีขาวสะอาดไม่ผุเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพฟันดีต้องเริ่มจากฟันน้ำนม เพราะฟันน้ำนมทำหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร เป็นตัวกระตุ้นให้ขากรรไกรมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมให้ฟันแท้สามารถขึ้นได้ ทั้งยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษา ทำให้เด็กพูดได้ชัดเจน และเพิ่มความสวยงามให้แก่ใบหน้าของเด็กอีกด้วย
จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูลในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 – พ.ศ.2567 พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 3ปี มีฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 21.95 , 25.86 และ 44.19 ตามลำดับ (HDC สตูล, 2567)จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเด็กปฐมวัยของตำบลแป-ระ มีปัญหาฟันน้ำนมผุสูงขึ้นมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งสาเหตุหลักมักเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง อาหารการกิน นมที่เด็กดื่มจะเป็นรสหวาน การที่เด็กดื่มนมจากขวดแล้วเด็กมักจะหลับคาขวดนม การแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธี การขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานตนเองซึ่งแนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดโรคฟันผุ โดยต้องมีการตรวจคัดกรองฟันผุตั้งแต่เริ่มแรก และการฝึกทักษะผู้ปกครอง พี่เลี้ยงเด็ก ในการดูแลสุขภาพช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธี การเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากและการเลี้ยงลูกด้วยนมขวดที่ถูกวิธีจะสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลแป-ระ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก ศพด. เขตตำบลแป-ระ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครองให้ได้รับทราบปัญหาและวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอย่างต่อเนื่องและทำให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านทันตสุขภาพในระดับสูง

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติด้านทันตสุขภาพที่ดี

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติด้านทันตสุขภาพในระดับดี

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีทักษะด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีทักษะด้านทันตสุขภาพในระดับดี

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเด็ก ศพด. ได้รับการส่งเสริมป้องกันและเฝ้าระวังด้านทันตสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิช

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 151
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 151
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิน กอด เล่น เล่า เฝ้า เรื่องฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิน กอด เล่น เล่า เฝ้า เรื่องฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ
  2. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการ
  3. ประสานงานกับครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ในทุกศูนย์พัฒนาเด็ก ตำบลแป-ระ เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
  4. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  5. ดำเนินกิจกรรมโครงการ ผ่านกิจกรรม “กิน กอด เล่น เล่า เฝ้า เรื่องฟัน”

งบประมาณสนันสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลแป-ระ รายละเอียดดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 162 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,050 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆ คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าสื่อโมเดลสอนแปรงฟันชุดฟันน้ำนม แบบพลาสติก จำนวน 1 ชุดๆ ละ 1,800 บาทเป็นเงิน1,800 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท

  • ค่าเอกสารแบบวัดผลความรู้ ทัศนคติ และทักษะด้านทันตสุขภาพ (ก่อน - หลัง) จำนวน 162 ชุดๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,620 บาท

  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดอบรม แฟ้มซองซิปใส่เอกสาร จำนวน 162 แฟ้มๆ ละ 10 บาท ปากกา จำนวน 162 ด้ามๆ ละ 5 บาท สมุด จำนวน 162 เล่มๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 4,050 บาท

  • ผลิตภัณฑ์ย้อมสีฟัน EZYGEL จำนวน 4 ขวด ขวดละ 65 บาท เป็นเงิน 260 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,030 บาท (เงินหนึ่งหมื่นสี่พันสามสิบบาทถ้วน)

หมายเหตุ ทุกรายการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ
6. ประสาน ติดตาม รวบรวมและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน 7. วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ 8. สรุปและประเมินผลโครงการรายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามมาตรฐาน
  2. กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก รวมถึงครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปาก
  3. กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก รวมถึงครูผู้ดูแลเด็กมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี

  4. ครอบครัว ชุมชน ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ส่งเสริมการดูแลด้านทันตสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14030.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>