กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากใน ศพด.ตำบลแป-ระ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 14,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดาวัลย์ อบทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.83532,99.930295place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 14,030.00
รวมงบประมาณ 14,030.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 151 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 151 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากในเด็กปฐมวัย ปัจจุบันโรคฟันผุในเด็กเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 - 3 ปี การที่เด็กมีฟันที่ผุทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ นอนไม่หลับ และสูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่เกิดภาวะเตี้ยแคระแกร็น และมีเส้นรอบวงสมองเล็กกว่าเด็กปกติได้ (สำนักงานทันตสาธารณสุขกรมอนามัย, 2556) รอยยิ้มที่สดใสของเด็กบ่งบอกถึงการมีสุขภาพดีและรอยยิ้มที่สดใสจำเป็นต้องมีฟันสีขาวสะอาดไม่ผุเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพฟันดีต้องเริ่มจากฟันน้ำนม เพราะฟันน้ำนมทำหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร เป็นตัวกระตุ้นให้ขากรรไกรมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมให้ฟันแท้สามารถขึ้นได้ ทั้งยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษา ทำให้เด็กพูดได้ชัดเจน และเพิ่มความสวยงามให้แก่ใบหน้าของเด็กอีกด้วย
จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูลในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 – พ.ศ.2567 พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 3ปี มีฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 21.95 , 25.86 และ 44.19 ตามลำดับ (HDC สตูล, 2567)จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเด็กปฐมวัยของตำบลแป-ระ มีปัญหาฟันน้ำนมผุสูงขึ้นมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งสาเหตุหลักมักเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง อาหารการกิน นมที่เด็กดื่มจะเป็นรสหวาน การที่เด็กดื่มนมจากขวดแล้วเด็กมักจะหลับคาขวดนม การแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธี การขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานตนเองซึ่งแนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดโรคฟันผุ โดยต้องมีการตรวจคัดกรองฟันผุตั้งแต่เริ่มแรก และการฝึกทักษะผู้ปกครอง พี่เลี้ยงเด็ก ในการดูแลสุขภาพช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธี การเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากและการเลี้ยงลูกด้วยนมขวดที่ถูกวิธีจะสามารถช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลแป-ระ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก ศพด. เขตตำบลแป-ระ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครองให้ได้รับทราบปัญหาและวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอย่างต่อเนื่องและทำให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านทันตสุขภาพในระดับสูง

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติด้านทันตสุขภาพที่ดี

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติด้านทันตสุขภาพในระดับดี

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีทักษะด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีทักษะด้านทันตสุขภาพในระดับดี

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเด็ก ศพด. ได้รับการส่งเสริมป้องกันและเฝ้าระวังด้านทันตสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิช

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิน กอด เล่น เล่า เฝ้าเรื่องฟัน(1 ม.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 14,030.00                  
รวม 14,030.00
1 กิน กอด เล่น เล่า เฝ้าเรื่องฟัน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 14,030.00 0 0.00
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิน กอด เล่น เล่า เฝ้า เรื่องฟัน 150 14,030.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 11:07 น.