กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตะโหมด

ในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้วัยรุ่นต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความขับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตนเองครอบครัวและสังคม ต้องออกจากงานมีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลงมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากวัยรุ่นไม่ได้รับการดูแลใส่ใจจากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้วัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังแยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทาง จิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ดังนั้น กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตะโหมด ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องส่งเสริม สนับสนุน วัยรุ่นในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตป้องกันและแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายในวัยรุ่น เพื่อให้นำความรู้และทักษะจากการอบรม นำไปถ่ายทอดและให้การช่วยเหลือตนเองและบุคคลอื่นส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 มีแกนนำเฝ้าระวังและติดตามผู้พยายามฆ่าตัวตายในกลุ่มรุ่นเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี

แกนนำเฝ้าระวังและติดตามผู้พยายามฆ่าตัวตาย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายมากขึ้น ร้อยละ 60 ของแกนนำที่เข้าร่วมอบรม

0.00
2 เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช แกนนำเฝ้าระวังและติดตามผู้พยายามฆ่าตัวตาย มีความรู้ สามารถเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารได้ และสามารถติดตามผู้พยายามฆ่าตัวตายได้

แกนนำเฝ้าระวังและติดตามผู้พยายามฆ่าตัวตาย สามารถแพร่ความรู้ข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับการเฝ้าระวังฆ่าตัวตายในโรงเรียนตนเองได้ ร้อยละ 60 ของแกนนำที่เข้าร่วมอบรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานงานกับภาคีเครือข่ายและจัดประชุมชี้แจงการดำเนินการ

2.จัดอบรมให้ความรู้และจัดตั้งแกนนำ 1 รุ่น จำนวน 1 วัน ตามหลักสูตรดังนี้

2.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น

  • เสริมสร้างการควบคุมอารมณ์ความเครียด ยืดหยุ่น รักและนับถือตนเอง

  • การรับมือความเศร้า ป้องกันโรคซึมเศร้า

  • เรียนรู้ความปลอดภัยจากการมีภาวะซึมเศร้า ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงการฆ่าตัวตาย

  • ทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น

2.2 กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น

  • ทักษะการสังเกต คัดกรองภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเบื้องต้น

  • พื้นฐานการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

  • เข้าถึงบริการของวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 ธันวาคม 2567 ถึง 1 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

1.1 ความรู้ด้านส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น
- เสริมสร้างการควบคุมอารมณ์ความเครียด ยืดหยุ่น รักและ นับถือตนเอง

  • การรับมือความเศร้า ป้องกันโรคซึมเศร้า

    • ความปลอดภัยเมื่อเริ่มรับรู้การมีภาวะซึมเศร้า ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงการฆ่าตัวตาย
    • ทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น
      1.2 กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ไขปัญหาโรค ซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น
  • ทักษะการสังเกตและคัดกรองภาวะซึมเศร้าเบื้องต้น

  • พื้นฐานการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
  • การเข้าถึงบริการของวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้จัด 25 บ. x 60คน x 2 มื้อ = 3,000 บ.

  2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้จัด 65 บ. x 60 คน x 1 มื้อ = 3,900 บ.

  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร (ภาคบรรยาย) ชั่วโมงละ 600 บ.x 1 คน x 2 ชั่วโมง = 1,200 บ.

  4. ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมโครงการ เป็นเงิน 1,500 บาท

รวม 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 3. ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3. ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ติดตามและประเมินผล -สรุปผลรายงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
2. เพื่อให้เยาวชนเข้าใจรับรู้ถึงสัญญาณ เตือนในการฆ่าตัวตายกับคนใกล้ตัวและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้
3. เพื่อสร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับสถานศึกษาและในพื้นที่


>