กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

โรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

นายแพทย์ทรงเกียรติ พลเพชร ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางแก้ว

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

 

3,975.00
2 จำนวนเด็กอายุ 0-14 ปี

 

542.00
3 ปี 2567 มารดาอายุระหว่าง 10 - 19 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์และคลอดมีชีพร้อยละ

 

4.37

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นประเด็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นครรภ์ไม่พึงประสงค์ จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อบุคคลและสังคมในหลายด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่อด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม รวมถึงด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดปัญหาปัญหาต่อสุขภาพกายและสุขภาพกายและสุขภาพจิตของวัยรุ่นตามมา โดยพบว่าในปี พ.ศ. 2565 - 2567 มารดาวัยรุ่นในเขตพื้นที่อำเภอบางแก้วที่มีอายุระหว่าง 10 - 19 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์และการคลอดมีชีพคิดเป็น 13.85, 4.85, 4.37 ต่อพันประชากร จากการสอบสวนและรวบรวมข้อมูลในมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่น พบว่ามารดาวัยรุ่นร้อยละ 100 เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ สาเหตุเกิดจากวัยรุ่นขาดความตระหนักในการป้องกันการคุมกำเนิด ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชน เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันและไม่ปลอดภัย ขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตน จึงก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามมา จากสถานการณ์ดังกล่าวการรณรงค์ให้ความรอบรู้เชิงรุกแก่แกนนำนักเรียนและแกนนำสุขภาพในชุมชนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยวุ่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย รวมถึงการรู้จักใช้ทักษะการปฏิเสธอย่างเหมาะสม และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับบุคลคลใกล้ตัว ในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลบางแก้วได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขดังกล่าว จึงมีความประสงค์ในการจัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2568 เขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้และความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

นักเรียนและแกนนำสุขภาพกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้และความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 140.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถถ่ายทอดความรู้/ความเข้าใจแก่บุคคลใกล้ชิด โรงเรียนและชุมชนได้

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 สามารถ่ายทอดความรู้

0.00 140.00
3 เพื่อลดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 19 ปี

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 19 ปี ไม่เกิน 21 ต่อพันประชาชน

0.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 174
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมเพื่อดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการประชุม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/จัดตั้งแกนนำเยาวชนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/จัดตั้งแกนนำเยาวชนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1x2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 174 คน ๆ ละ 15 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,610 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4860.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,860.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้และความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถถ่ายทอดความรู้/ความเข้าใจแก่บุคคลใกล้ชิด โรงเรียนและชุมชนได้
3. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 19 ปี ไม่เกิน 21 ต่อพันประชากร


>