กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รหัสโครงการ 2568-L3331-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2568
งบประมาณ 4,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกิตติยา วงศ์อุทัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 174 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ
3,975.00
2 จำนวนเด็กอายุ 0-14 ปี
542.00
3 ปี 2567 มารดาอายุระหว่าง 10 - 19 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์และคลอดมีชีพร้อยละ
4.37

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นประเด็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นครรภ์ไม่พึงประสงค์ จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อบุคคลและสังคมในหลายด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่อด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม รวมถึงด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดปัญหาปัญหาต่อสุขภาพกายและสุขภาพกายและสุขภาพจิตของวัยรุ่นตามมา โดยพบว่าในปี พ.ศ. 2565 - 2567 มารดาวัยรุ่นในเขตพื้นที่อำเภอบางแก้วที่มีอายุระหว่าง 10 - 19 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์และการคลอดมีชีพคิดเป็น 13.85, 4.85, 4.37 ต่อพันประชากร จากการสอบสวนและรวบรวมข้อมูลในมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่น พบว่ามารดาวัยรุ่นร้อยละ 100 เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ สาเหตุเกิดจากวัยรุ่นขาดความตระหนักในการป้องกันการคุมกำเนิด ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชน เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันและไม่ปลอดภัย ขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตน จึงก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามมา จากสถานการณ์ดังกล่าวการรณรงค์ให้ความรอบรู้เชิงรุกแก่แกนนำนักเรียนและแกนนำสุขภาพในชุมชนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยวุ่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย รวมถึงการรู้จักใช้ทักษะการปฏิเสธอย่างเหมาะสม และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับบุคลคลใกล้ตัว ในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลบางแก้วได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขดังกล่าว จึงมีความประสงค์ในการจัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2568 เขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้และความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

นักเรียนและแกนนำสุขภาพกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้และความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 140.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถถ่ายทอดความรู้/ความเข้าใจแก่บุคคลใกล้ชิด โรงเรียนและชุมชนได้

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 สามารถ่ายทอดความรู้

0.00 140.00
3 เพื่อลดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 19 ปี

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 19 ปี ไม่เกิน 21 ต่อพันประชาชน

0.00 4.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,860.00 0 0.00
1 ก.พ. 68 - 31 มี.ค. 68 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการฯ 0 0.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/จัดตั้งแกนนำเยาวชนในชุมชน 0 4,860.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้และความเข้าใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถถ่ายทอดความรู้/ความเข้าใจแก่บุคคลใกล้ชิด โรงเรียนและชุมชนได้
  3. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 19 ปี ไม่เกิน 21 ต่อพันประชากร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2568 00:00 น.