กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนท่าเรือ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

คณะกรรมการชุมชนท่าเรือ

1. นายนิพันธ์เหาะหาด
2.นายสำเริงปาวัน
3. นางลินดาหนูแป้นน้อย
4. นายวิเศษขาวดี
5. นายภานุพงษ์ชุติมาฉาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธาราณสุข ของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศไทยเป็นเขตร้อนชื้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย ตัวเมียกัดคนที่ป่วยไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงมีไข้สูงหากยุงกัดคนไข้ในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัส มาแพร่ให้กับคนอื่น ส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก และในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน วัด โรงเรียน มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองต้นไม้และขาตู้กับข้าว เป็นต้นดังนั้น ชุมชนท่าเรือได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนท่าเรือ ประจำปีงบประมาณ2568 โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้และรณรงค์เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกบ้านในเขตพื้นที่ชุมชนท่าเรือ ม.2 ตำบลทุ่งหว้า ครอบคลุมทุกครัวเรือนเพื่อกำจัดยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกและเพื่อป้องกันการโรคไข้เลือดออก และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเอกจากโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 80 เด็ก เยาวชนและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

100.00 100.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของประชาชน

ร้อยละ 80 เด็ก เยาวชนและประชาชน นำความรู้ประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้แก่ตนเอง ครอบครัว และทุกคนในชุมชน

100.00 100.00
3 3.สร้างกระแสความร่วมมือของประชาชนและองค์กรต่างๆ ในชุมชนในการรณรงค์ ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย และสถานที่ทำงานให้ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี

ร้อยละ ๘๐ เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2. กิจกรรมย่อย กิจกรรมลงพื้นที่สำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ พร้อมเดินรณรงค์โรคไข้เลือดออกในชุมชน -กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหลังจากการลงพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2. กิจกรรมย่อย กิจกรรมลงพื้นที่สำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ พร้อมเดินรณรงค์โรคไข้เลือดออกในชุมชน -กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหลังจากการลงพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ1. ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะกรรมการชุมชนท่าเรือ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ2.จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ขั้นดำเนินงาน1 ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการอบรมให้ความรู้เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนท่าเรือ ประจำปีงบประมาณ2568 .2 ดำเนินการตามแผน
กิจกรรมที่จะดำเนินงานตามโครงการ 1. จัดอบรมให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนประชาชน ในเขตชุมชนท่าเรือ 2. ติดตามประเมินผล โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ3. สรุปและรายงานผลภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จโครงการฯ รายละเอียดงบประมาณ1. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท2. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 35 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท 4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1.20 x 2.80 ม. เป็นเงิน 500บาท5. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ1. กระดาษบรู๊พ จำนวน 15 แผ่นๆละ 5 บาทเป็นเงิน 75 บาท2.ปากกาเคมี จำนวน 15 ด้ามๆละ 15 บาท เป็นเงิน 225 บาท3. ซองพลาสติก จำนวน 60 ใบ ๆละ 20 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท4. ปากกา จำนวน 60 ด้าม ๆละ 10 บาทเป็นเงิน600 บาท5.สมุดจำนวน 60 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท6. ค่าเช่าเครื่องเสียงจำนวน 1 ชุดเป็นเงิน1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,000.-บาท (-เงินหนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้กับตนเองและครอบครัว 3.ทุกคนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้กับตนเองและครอบครัว
3.ทุกคนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก


>