กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

โรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

นายแพทย์ทรงเกียรติ พลเพชร ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางแก้ว

เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

 

3,975.00
2 จำนวนผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง

 

16.00
3 จำนวนครัวเรือน

 

1,939.00

ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดแผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม จากสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประเทศไทยตั้แต่ปี 2565 - 2567 พบว่ามีอัตราผู้ป่วยต่อแสนประชากร 1714, 1809 และ 2021 ตามลำดับ สำหรับอำเภอบางแก้วพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอยู่ในลำดับที่ 5 ของจังหวัด ซึ่งในพื้นที่ของเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ ตั้งแต่ปี 2565 - 2567 พบว่ามีอัตราผูู้ปป่วยต่อแสนประชากร 50.72, 81.21 และ 97.20 ตามลำดับ
จากสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าผู็ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกๆปี ซึ่งหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้้น 3 - 4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3 - 4 เท่า ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่งกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้าเป็นต้น ดังนั้นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และผู้ป่วยจะด้องได้รับการเข้าถึงการคัดครองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมารตฐานเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุุขและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่กล่าวมาข้างต้น
ในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลบางแก้ว ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงจากเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ เพื่อเป็นการติดตามผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการติดตามมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพขึ้น เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงและะลดภาระแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานความดันในกลุ่มป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคเบหวานและโรคความดันดลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

ผู้ป่วยโรคเบหวานและโรคความดันดลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 80

60.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลงตามเกณฑ์ชี้วัดของกระทรวง

60.00
3 ลดอัตราป่วยจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่จากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส.

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม วิทยากรและผู้จัดการประชุม จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม วิทยากร และผู้จัดการประชุม จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1 x 2.5 เมตร x 500 บาท เป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมประชุมได้ความรู้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส.และการเข้าฐานการเรียนรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10650.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน (7 ชุมชนๆละ 2 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน (7 ชุมชนๆละ 2 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย (เยี่ยมบ้าน/ย่องครัว ติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร/พฤติกรรมการรับประทานยาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ จำนวน 2 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย (เยี่ยมบ้าน/ย่องครัว ติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร/พฤติกรรมการรับประทานยาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ จำนวน 2 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทีมวิชาชีพลงพื้นที่ติดตามเยียมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ติดตามเยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการโดยทีมสหวิชาชีพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามการออกกำลังกายในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการออกกำลังกายในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ลงติดตามการออกกำลังกายในชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีการออกกำลังกาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,650.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
3. ไม่พบผู้ป่วยใหม่จากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง


>