กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ด้วยรัก ห่วงใย ใส่ใจผู้ป่วยประคับประคอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

รพ.สต.บ้านลำ

1. นายสรพงษ์ ชูเพชร
2. นายสุรศักดิ์จันทร์กลับ
3. นางวลัยลักษณ์ ผะดุง
4. นางสาววัชรี สุขกาญจนะ

รพ.สต.บ้านลำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ เท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งค่าความดันโลหิตของคนปกติคือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท

โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ เท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งค่าความดันโลหิตของคนปกติคือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานและไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต หากได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พร้อมติดตามวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เป็นอย่างดี จากสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย จากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 3 แสนคน ส่วนในปี 2566 ประเทศไทยมีผู้ป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 507,104 คน จากข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำในปี 2564 – 2567 พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้นแต่ขณะเดียวกันหากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นและเมื่อมีความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความเครียดซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจได้ในอนาคต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำและกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลร่มเมืองจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองความดัน ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ปี 2568 ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสำหรับกลุ่มปกติ ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจและในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อไป

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างสมเหตุสมผล

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยประคับประคองได้รับการดูแลอย่างสมเหตุสมผล

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะของสมาชิกในครัวเรือน

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยประคับประคองได้รับการดูแลอย่างสมเหตุสมผล

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 31/03/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 การสร้างองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยให้กับสมาชิกในครัวเรือน
1.2 การดูแล เยี่ยมเยือนผู้ป่วยในการดูแลตนเองในระยะประคับประคอง งบประมาณ 1.ถาดหลุมทำแผล ขนาด 253 X 157 X 20 มม. จำนวน 10 ใบ ใบละ 245 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท 2.ฟอร์เซ็ป แบบมีเขี้ยว จำนวน 10 อัน อันละ 190 บาท เป็นเงิน 1,900 บาท 3.ฟอร์เซ็ป แบบไม่มีเขี้ยว จำนวน 10 อัน อันละ 180 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4.เครื่องวัดความดัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องละ 3,500 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท 5.สำลีก้อนชุปแอลกอฮอล์ (8ก้อน/แผง) กล่องละ 12 แผงจำนวน 18 กล่อง กล่องละ 186 บาท เป็นเงิน 3,348 บาท รวมเป็นเงิน 19,998 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19998.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,998.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 90 ของ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจโรคความดันโลหิตสูง , โรคซึมเศร้า , ภาวะเครียด , คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
2. กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงทุกคนได้รับการส่งต่อเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤฒิกรรมสุขภาพ


>