กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เด็กวัยเรียน ยิ้มสดใส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่

- โรงเรียนบ้านนาแสน หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวังสงขลา - โรงเรียนวัดหูแร่ หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวังสงขลา - โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวังสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบเป็นปัญหาสำคัญทางทันตสุขภาพที่พบมากในเด็กนักเรียนประถมศึกษา โดยปัญหาทางทันตสุขภาพนั้น นอกจากเกิดผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้ว ยังมีผลกระทบทั้งต่อการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กนักเรียน ซึ่งโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้นักเรียนมีนิสัยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี และการส่งเสริมป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ดี
จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า ในกลุ่มเด็กวัยเรียนมีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 52 พบฟันผุเฉลี่ย 1.4 ซี่/คน พบเหงือกอักเสบ ร้อยละ 66.3 มีพฤติกรรมไม่เคยแปรงฟันหลังอาหารกลางวันร้อยละ 55.3 และบริโภคขนมกรุบกรอบทุกวัน ร้อยละ 32.6 ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนในปี 2566 ตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ จำนวน 3 แห่ง มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 776คน พบว่ามีฟันแท้ผุ คิดเป็นร้อยละ 37.2 พบเหงือกอักเสบ ร้อยละ 30.5ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาทันตสาธารณสุขในโรงเรียน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กประถมศึกษาในโรงเรียน ให้นักเรียนมีความสามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง และได้รับการรักษาโรคในช่องปากเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนไม่มีฟันแท้ผุ มีสุขภาวะช่องปากที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และส่งต่อมารับการรักษาที่จำเป็น
  1. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและวางแผนการรักษาที่จำเป็น
0.00
2 2 .เพื่อให้เด็กนักเรียนฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างต่อเนื่อง
  1. เด็กนักเรียนได้รับการฝึกทักษะแปรงฟันอย่างถูกวิธี
0.00
3 3.เพื่อสร้างความตระหนักและเพิ่มศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

3.นักเรียนในโรงเรียนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 207
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลทันตสุขภาพในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลทันตสุขภาพในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฐาน ฐานที่ 1 สุขภาพช่องปากของฉัน ตรวจฟันด้วยตนเอง ฐานที่ 2 คราบจุลินทรีย์ ภัยร้ายต่อช่องปาก ฐานที่ 3 การแปรงฟัน 222 และผลิตภัณฑ์ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ฐานที่ 4 เลือกกินดี มีประโยชน์

กิจกรรมอบรมนักเรียน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียน จำนวน212 คนๆละ 1มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 5300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมให้บริการทันตสุขภาพในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมให้บริการทันตสุขภาพในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมตรวจช่องปาก และวางแผนการรักษา 2.2 กิจกรรมเคลือบฟลูออไรด์เจล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมติดตามหลังร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมติดตามหลังร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการติดตามผลบันทึกแปรงฟันหลังอาหารกลางวันเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคฟันผุ สื่อในการจัดทำโครงการ - ไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 2.4x1.2 เมตร จำนวน 1 แผ่น ๆ ละ 432 บาท - โรลอัพให้ความรู้ทันตสุขภาพในเด็ก จำนวน 2 แผ่น ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - อุปกรณ์สาธิตการในการดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นเงิน 500 บาท
- สื่อทันตสุขศึกษา โมเดลตุ๊กตาฟันแท้ใหญ่ 28 ซี่ มีลิ้น สูง 21 นิ้ว เป็นเงิน 2,700 บาท ค่าวัสดุในการฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็กเล็กและวัสดุที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมมีดังนี้ - ชุดเด็กวัยเรียน (แปรงสีฟัน+ยาสีฟันเด็ก+ถุงผ้ากิ๊ฟเซ็ต+แก้วน้ำ) จำนวน 207 ชุดๆละ 90 บาท เป็นเงิน 18,630 บาท - ฟลูออไรด์เจล 5 ขวด ๆละ 550 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท - สมุดบันทึกการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน จำนวน 207 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 8,280 บาท - ค่าเอกสารคัดกรองตรวจฟันและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37792.00

กิจกรรมที่ 4 4.กิจกรรมสรุปผลรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
4.กิจกรรมสรุปผลรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารโครงการและทำรูปเล่ม เป็นเงิน 200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,292.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
2.เด็กนักเรียนสามารถตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นของตนเองได้
3.เด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับคำแนะนำ และส่งต่อมารับการรักษาที่จำเป็นที่โรงพยาบาลได้


>